วางแผนการเงินไม่ใช่เรื่องยาก
เปิดใจและเรียนรู้ไปกับเรา

efin Wealth Fit สนับสนุนให้คนไทยทุกคน
มีสถานะทางการเงินที่ดียิ่งขึ้น

ประวัติความเป็นมา

บริษัท อีฟิน เวลธ์ฟิต จำกัด เป็นบริษัทในเครือของบริษัท ออนไลน์แอสเซ็ท จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำในการให้บริการข้อมูลข่าวสารการลงทุนออนไลน์ และระบบข้อมูลข่าวสารการลงทุนแบบเรียลไทม์มากว่า 17 ปี ภายใต้เว็บไซต์ อีไฟแนนซ์ไทย (www.efinanceThai.com) ให้แก่ลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์ 28 ราย และนักลงทุนรายย่อยกว่า 100,000 ราย ดังนั้น จุดแข็งของบริษัทฯ คือการต่อ ยอดทางธุรกิจจากบริษัท ออนไลน์แอสเซ็ท จำกัด ซึ่งมีจุดแข็งจากการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้านการลงทุนเป็นเวลานาน มีทีม IT และการตลาดภายในของตัวเอง จึงมีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็วและทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล พร้อมทั้งยังมีช่องทางในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ไปยังกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักลงทุนรายย่อยหลากหลายช่องทางทั้ง website, YouTube channel, Line, facebook รวมถึงได้มีการจัดกิจกรรมงานสัมมนาด้านการลงทุนต่างๆ อีกด้วย

โดยบริษัท อีฟิน เวลธ์ฟิต จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินแก่บุคคลทั่วไป โดยมีการให้ความรู้ด้านการวางแผนการเงินผ่านช่องทางดิจิทัล อาทิเช่น บทความ, Youtube Channel, Social Media, Podcast เป็นต้น และมีการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาเครื่องมือทางการวางแผนทางการเงิน ผสมผสานกับระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) AI ที่ช่วยให้การวางแผนทางการเงินเป็นเรื่องที่เข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ตัวแรกของบริษัท คือ แอปพลิเคชันวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ภายใต้ชื่อ Lumpsum

แนวคิด Lumpsum

แนวคิดการวางแผนการเงินส่วนบุคคล โดยสร้างแผนการเงินที่ทุกคนสามารถปฎิบัติได้จริง เป็นการสร้างแผนการเงินที่ดี ที่สามารถช่วยให้ชีวิตของแต่ละบุคคลเดินทางไปสู่เป้าหมายด้านการเงินที่วางไว้ได้

แผนการเงินที่ดีเป็นอย่างไร?

เป็นแผนที่ช่วยให้เราสามารถบรรลุเป้าหมาย
ทางการเงินในแต่ละช่วงชีวิตได้

1. รู้จักตัวเองก่อนด้วยการตรวจสุขภาพการเงิน

รู้สถานะการเงินของเราเองว่าวันนี้เรามีสถานะทางการเงินอยู่ในระดับดีมาก ดี พอใช้ หรือยังต้องปรับปรุง โดยใช้เครื่องมือ "การตรวจสุขภาพทางการเงิน (Financial Check Up)" โดยตรวจสอบรายรับจ่ายเป็นอย่างไร มีสินทรัพย์ หนี้สินอะไรบ้าง มีเงินออมเท่าไร เพื่อที่จะได้รู้ว่าเรามีปัญหาการเงินอยู่ที่ตรงไหนก่อนที่จะไปวางแผนขั้นตอนถัดไป

วงจรนี้ทำไปเรื่อยๆ เพื่อให้เรารู้ตัวเสมอว่าเงินเราหายไปไหน หรือถูกเปลี่ยนไปเป็นอะไร และเมื่อมีเงินเหลือจะเอาไปทำอะไรต่อ

2. สร้างเป้าหมายชีวิต

กำหนดเป้าหมายชีวิต ด้วยการวางแผนระยะสั้น เช่น วางแผนท่องเที่ยว, แต่งงาน, ซื้อรถ, ซื้อบ้าน หรือมีบุตร และวางแผนระยะยาว เช่น แผนเกษียณ โดยสิ่งที่ต้องรู้มีดังนี้

  • จะใช้เงิน อายุเท่าไร
  • แต่ละแผนใช้เงินเท่าไร ยังขาดเงินอยู่เยอะไหม
  • ความสามารถในการหาเงิน หรือเอาเงินไปลงทุน ถ้ามีความสามารถมากก็เหนื่อยน้อยลง
  • ยิ่งอายุมาก ถ้าแผนยังขาดเงินอีกมาก ก็จะเหนื่อยมาก ต้องออมเยอะขึ้น

3. วางแผนออมเงินสำรอง

ถึงสุขภาพการเงินของเราจะดีมาก ก็ไม่ควรมองข้ามเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน สิ่งสำคัญลำดับต้นๆสำหรับการวางแผนการเงิน คือ เราต้อง มีเงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Cash) ซึ่งควรมีอย่างน้อย 6-9 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน (รายจ่ายประจำ+รายจ่ายผันแปร) โดยเงินสำรองส่วนนี้ต้องเป็นเงินที่มีสภาพคล่องสูง ถอนได้ทันที รวมถึงมีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินสดในบัญชีธนาคาร หรือกองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund)

3. วางแผนออมเงินสำรอง

ถึงสุขภาพการเงินของเราจะดีมาก ก็ไม่ควรมองข้ามเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน สิ่งสำคัญลำดับต้นๆสำหรับการวางแผนการเงิน คือ เราต้อง มีเงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Cash) ซึ่งควรมีอย่างน้อย 6-9 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน (รายจ่ายประจำ+รายจ่ายผันแปร) โดยเงินสำรองส่วนนี้ต้องเป็นเงินที่มีสภาพคล่องสูง ถอนได้ทันที รวมถึงมีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินสดในบัญชีธนาคาร หรือกองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund)

4. จัดการหนี้สิน

จัดการหนี้สินที่มีก่อนคิดจะลงทุนหรือเพิ่มภาระรายจ่ายของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นหนี้สินบ้าน รถ บัตรเครดิต หรือหนี้นอกระบบ โดยการจัดการหนี้นั้นไม่ได้หมายความถึงการปลดหนี้ แต่ ควรชำระหนี้ไม่เกิน 40% ของรายรับต่อเดือน และมียอดหนี้รวมไม่ควรเกิน 5 เท่าของรายรับต่อปี ส่วนหนี้ที่ควรจัดการก่อนคือหนี้ที่มีดอกเบี้ยชำระสูงที่สุด เช่น หนี้นอกระบบ บัตรกดเงินสด และหนี้บัตรเครดิต เป็นต้น ด้วยวิธีการใช้สินเชื่อรวมหนี้ รีไฟแนนซ์บ้าน และรีไฟแนนซ์รถ หากไม่สามารถจัดการหนี้ได้ก็ต้องขายสินทรัพย์บางอย่างที่ไม่สำคัญออกไปเพื่อลดยอดหนี้ในอนาคต

5. ปกป้องความเสี่ยงด้วยประกัน

จัดการความเสี่ยงด้านทรัพย์สิน ชีวิต และสุขภาพ ดีพอหรือยัง หลายครั้งที่ชีวิตเรากำลังดี แต่ หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ที่อาจจะใหญ่และรุนแรง เช่น ไฟไหม้บ้าน รถชน รถหาย เป็นโรคร้ายแรง หรือกลายเป็นคนพิการทุพพลภาพ หรือบางครั้งเล็กน้อย เช่น เจ็บป่วยไข้หวัด หกล้ม หรือรถเฉี่ยว เป็นต้น ซึ่งความเสียหายดังกล่าว ถ้าหากมันเกิดแล้วไม่มีผลกับสถานะการเงินของเราก็แสดงว่าเราวางแผนการเงินดีแล้ว แต่ถ้ามีผลทำให้การเงินของเราเสียหาย ก็แสดงว่าแผนการเงินของเรายังจัดการเรื่องความเสี่ยงได้ไม่ดี

คือ การโอนความเสี่ยงให้บริษัทประกันรับผิดชอบไปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นประกันไฟไหม้บ้าน ประกันรถ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันโรคร้ายแรง โดยต้องจัดทำให้เหมาะสมกับสถานะทางการเงินของเราด้วย ไม่จ่ายเบี้ยมากจนเกินไป หรือจ่ายเบี้ยน้อยเกินไป

5. ปกป้องความเสี่ยงด้วยประกัน

จัดการความเสี่ยงด้านทรัพย์สิน ชีวิต และสุขภาพ ดีพอหรือยัง หลายครั้งที่ชีวิตเรากำลังดี แต่ หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ที่อาจจะใหญ่และรุนแรง เช่น ไฟไหม้บ้าน รถชน รถหาย เป็นโรคร้ายแรง หรือกลายเป็นคนพิการทุพพลภาพ หรือบางครั้งเล็กน้อย เช่น เจ็บป่วยไข้หวัด หกล้ม หรือรถเฉี่ยว เป็นต้น ซึ่งความเสียหายดังกล่าว ถ้าหากมันเกิดแล้วไม่มีผลกับสถานะการเงินของเราก็แสดงว่าเราวางแผนการเงินดีแล้ว แต่ถ้ามีผลทำให้การเงินของเราเสียหาย ก็แสดงว่าแผนการเงินของเรายังจัดการเรื่องความเสี่ยงได้ไม่ดี

คือ การโอนความเสี่ยงให้บริษัทประกันรับผิดชอบไปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นประกันไฟไหม้บ้าน ประกันรถ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันโรคร้ายแรง โดยต้องจัดทำให้เหมาะสมกับสถานะทางการเงินของเราด้วย ไม่จ่ายเบี้ยมากจนเกินไป หรือจ่ายเบี้ยน้อยเกินไป

6. วางแผนภาษี

การวางแผนภาษีภาษีที่ดี ควรเริ่มจากทำความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้ และประเภทเงินได้ของเราก่อน และ รู้จักใช้สิทธิประโยชน์ตามที่กฏหมายกำหนดไว้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี การนำค่าลดหย่อนต่างๆ มาลดหย่อนภาษี จะทำให้เราเสียภาษีน้อยลง ทำให้เกิดกระแสเงินสดเพื่อนำเงินเหล่านั้นไปต่อยอดในการวางแผนการเงินได้อีกด้วย

ยกตัวอย่าง ค่าลดหย่อนที่น่าสนใจและไม่ควรมองข้าม ค่าลดหย่อนบางประเภทเป็นการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการออมการลงทุนระยะยาวด้วย เช่น ดอกเบี้ยบ้าน ค่าเบี้ยประกัน เงินปันผลจากการลงทุนในหุ้น เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินประกันสังคม หรือแม้กระทั่งเงินทำบุญ ล้วนมีผลต่อการประหยัดภาษีทั้งสิ้น

7. ลงทุนสร้างสินทรัพย์

หลายคนชอบคิดเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่อยากทำ เวลาพูดถึงการวางแผนการเงิน แต่รู้หรือไม่ก่อนจะมาถึงข้อนี้ ต้องจัดการ 6 ข้อด้านบนให้ดีเสียก่อน ซึ่งเมื่อผ่านขั้นตอนทั้ง 6 ข้อมาแล้ว ก่อนจะเริ่มลงทุนนั้นก็ควรกำหนดสัดส่วนเป็น % ก่อนว่าเราควรจะแบ่งเงินเท่าไรของรายได้เพื่อมาลงทุน มากไปหรือน้อยไปหรือไม่ และควรเลือกการลงทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ต้องการบรรลุผล และความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนรับได้ด้วย

มาเริ่มวางแผนการเงินวันนี้

ให้เราเป็นผู้ช่วยคุณในการวางแผนการเงินได้แล้ววันนี้

ให้เราได้เป็นผู้ช่วยคุณ

ดาวน์โหลดฟรีได้แล้ววันนี้

วิธีวางแผนการเงินที่ถูกต้อง

หาคำตอบได้ที่ มุมความรู้

อ่านบทความมุมความรู้เรื่องวางแผนการเงิน

ติดต่อเรา

บริษัท อีฟิน เวลธ์ฟิต จำกัด

  • ทุกวันทำการปกติ 8.30 - 17.30 น.

  • 02-022-6200

  • customerservice@lumpsum.in.th

  • facebook.com/Lumpsum

  • LINE OA

  • YouTube Channel

Lumpsum
บริการของเรา
  • สินเชื่อแก้หนี้
  • รีไฟแนนซ์บ้าน
  • ประกันชีวิต

Lumpsum App ดาวน์โหลด

มุมความรู้
  • Financial Guru
  • บทความแนะนำ
  • วางแผนการเงิน
  • รายรับ รายจ่าย
  • กองทุน
  • ประกันชีวิต
  • รีไฟแนนซ์
  • ภาษี
บัญชี
  • จัดการระบบสมาชิก
  • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
เกี่ยวกับ efin
  • สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
  • แอปพลิเคชันสำหรับเล่นหุ้น
  • การจัดกิจกรรมอีเว้นท์
ติดต่อเรา

ทุกวันทำการปกติ 8.30 - 17.30 น.

02-022-6200

customerservice@lumpsum.in.th

    facebook line youtube

Lumpsum App ดาวน์โหลด


Copyright © efin Wealthfit Company Limited.

ข้อตกลงและเงื่อนไข นโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงให้เราสามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมให้กับคุณอย่างเป็นส่วนตัว การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายที่แจ้งในเบื้องต้น นโยบายคุกกี้

ตกลง