ไม่มีรายการ

รายจ่ายสุขภาพเพิ่มขึ้น...คุณพร้อมรับมือแล้วหรือยัง?
05 กุมภาพันธ์ 2563
เหตุการณ์ต่าง ๆ ทั่วโลกในเดือนแรกของปี!!!
1. ไฟป่าออสเตรเลีย
2. ฝุ่น PM 2.5 ในไทย
3. เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ระบาด
4. ความตึงเครียดระหว่างอิหร่าน - อเมริกา (อย่ากลายเป็นสงครามเลย)
5. ภูเขาไฟปะทุที่ฟิลิปปินส์
6. แผ่นดินไหวตุรกีขนาด6.8 ตามมาตราริกเตอร์
7. น้ำท่วมบราซิล ตาย 270 ศพ
8. โคตรฝูงตั๊กแตนถล่มแอฟริกาตะวันออก
9. ไข้ลาซาสที่ไนจีเรีย
10. เครื่องบินยูเครนตก (อิหร่านยิงผิด)
ปี 2020 ผ่านไปแค่เดือนเดียว แต่หลากเหตุการณ์ร้ายถาโถม ทั้งหนักและเบา ซึ่งหลายเหตุการณ์การณ์กระทบกับสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM 2.5
อากาศบริสุทธิ์เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทุกคนพึงมี และควรได้รับโดยไม่ต้องเรียกร้อง
แต่วันนี้อากาศบริสุทธิ์กลับเปลี่ยนไป จากอากาศบริสุทธิ์ที่ไม่มีต้นทุน ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีต้นทุน กลายเป็นสิ่งที่ต้องจ่าย ต้องเรียกร้องให้ได้มา
หน้ากากอนามัยก็ต้องใส่ เครื่องฟอกอากาศก็ต้องซื้อ
คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ยิ่งแล้วใหญ่ เสี่ยงเจ็บป่วยจากปัญหาฝุ่นหนักไปกว่าเดิม บางคนต้องเข้าไปหาหมอ เสียค่ารักษาพยาบาล
ปัญหาฝุ่นยังไม่หมด ยังถูกซ้ำเติมด้วยเชื้อไวรัสโคโรน่าระบาดอีก!!
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดจริง ๆ
ในวันที่สุขภาพมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากปัจจัยที่เราไม่สามารถเลี่ยงได้
ฝุ่น PM2.5 ตามติด จะออกกำลังกายกลางแจ้งเพื่อดูแลสุขภาพก็ลำบาก
เดินทางออกนอกบ้านก็ต้องสวมหน้ากากอนามัย ซึ่งหน้ากากนี้ก็ต้องซื้อ
อยู่ในบ้านก็ใช่ว่าอากาศจะดี ซื้อเครื่องฟอกอากาศมาช่วย อ้าว! เสียเงินอีกแล้ว
ทางไหนก็มีแต่จ่าย!!!
นอกเหนือจากรายจ่ายสุขภาพข้างต้น
“ประกันสุขภาพ” จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็น ที่ตอนนี้แทบจะขาดไม่ได้
ประกันสุขภาพแบ่งตามลักษณะความคุ้มครองออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD)
ผู้เอาประกันต้องนอนในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เนื่องจากเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ
2. ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD)
ผู้เอาประกันเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ไม่ต้องแอดมิด พวกจำป่วยเล็กน้อย
3. ประกันสุขภาพร้ายแรง (ECIR)
เป็นประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มรองโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาเฉพาะทาง หรือมีความซ้ำซ้อน เช่น มะเร็ง หัวใจ เป็นต้น
4. ประกันอุบัติเหตุ (PA)
เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อุบัติเหตุ ทั้งค่ารักษาพยาบาล และค่าสินไหม ในกรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต
5. ประกันชดเชยรายได้
ให้ความคุ้มครองรายได้ระหว่างพักรักษาตัว โดยจะชดเชยเฉพาะรายได้เท่านั้น ไม่ครอบคุลมถึงค่ารักษาพยาบาล
จะเห็นว่า 4 ประเภทแรก จะให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ส่วนประเภทสุดท้ายชดเชยรายได้
ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามา ดังนั้น นอกจากประกันสุขภาพ 4 ประเภทแรกแล้ว หากทำประกันชดเชยรายได้ควบคู่ไปด้วย
นอกจากจะช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาล ก็ยังได้รับการชดเชยรายได้ระหว่างรักษาตัวไปด้วย
ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้นล้วนใช้เงิน จึงนับเป็นอีกหนึ่งในค่าใช้จ่ายจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (เว้นแต่ว่าได้รับสวัสดิการส่วนนี้จากที่ทำงาน ก็พอจะช่วยแบ่งเบาภาระต้องนี้ไปได้บ้าง)
รายได้ - เงินออม = รายจ่าย
สมการนี้ที่ดูเหมือนง่าย แต่บางทีมันก็ไม่ได้ง่ายเลย
ได้เงินมาแล้วให้รีบเก็บก่อน (เก็บโดยนำไปลงทุนต่อด้วยนะ) ว่ายากแล้ว
ด้วยบ่อยครั้งที่เผลอใช้เงินเกินตัว ก็ต้องไปใช้หนี้จนมันไม่เหลือเก็บ
สมการจึงเปลี่ยนเป็น
รายได้ - รายจ่าย = เงินออม
ซึ่งมันมักจะไม่เหลือเก็บ บางครั้งติดลบด้วยซ้ำ
แถมปัจจัยข้างนอกที่เปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง ทำให้ในส่วนของรายจ่ายก็ต้องคำนึงถึงรายจ่ายสุขภาพเพิ่มขึ้นอีก
เพราะในวันที่สุขภาพมีต้นทุนสูงขึ้น
ในวันที่การกินอาหารที่มีประโยชน์และตรงต่อเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอสำหรับสุขภาพที่ดีเหมือนแต่ก่อนแล้ว
ด้วยความเสี่ยงข้างนอกกระทบ ที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้
รายจ่ายสุขภาพก็ย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
คุณพร้อมรับมือกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้แล้วหรือยัง?
อ้างอิง
1. oic.or.th
2. itax.in.th
3. krungsri.com
เลือกแบบประกันฯด้วยแอปฯ Lumpsum ฟรี ได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
iOS
Android