ไม่มีรายการ

6 Checklist ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน

6 Checklist ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน

19 พฤศจิกายน 2567


ใครที่กำลังคิดจะไปรีไฟแนนซ์ เพื่อให้ค่างวดที่จ่ายอยู่ถูกลงหรืออยากให้อัตราดอกเบี้ยลดลง อยากให้หันกลับมาเช็กตัวเองก่อน จะได้สามารถรีไฟแนนซ์ได้แบบผ่านฉลุย

 

1.เช็กว่ารีไฟแนนซ์ได้ตอนไหน



ที่จริงสามารถ "รีไฟแนนซ์" ได้เมื่อครบกำหนดสัญญาที่ระบุไว้ตอนขอสินเชื่อบ้านครั้งแรก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่เฉลี่ย 3 ปี แต่บางแห่งอาจจะมากกว่านั้น โดยต้องดูสัญญาให้รอบคอบ เพราะหากไปรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนดอาจจะต้องเสียค่าปรับ 2-3% ของยอดหนี้ ซึ่งผมแนะนำว่าให้เตรียมเอกสารและเตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนครบสัญญา เพื่อที่เราจะได้รีไฟแนนซ์ได้ทันทีเมื่อครบสัญญา

2.เช็กวงเงินที่ต้องการ

 


สถาบันการเงินใหม่ที่เราไปรีไฟแนนซ์จะประเมินราคาบ้านใหม่ ในการกำหนดวงเงินกู้ ซึ่งนอกจากจะพอไปปิดหนี้กับสถาบันการเงินเดิมแล้ว ยังอาจจะได้เพิ่มด้วย
⠀⠀
เช่น ตอนขอสินเชื่อบ้านกับสถาบันการเงินแรกจำนวน 2 ล้านบาท แต่เมื่อเราผ่อนไปแล้ว 3 ปี มียอดหนี้คงเหลือ 1.8 ล้านบาท และเมื่อยื่นขอรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ ราคาประเมินบ้านอาจจะสูงขึ้นเป็น 2.5 ล้านบาท ทำให้คุณมีส่วนต่างจากการรีไฟแนนซ์อยู่ 7 แสนบาท

ทำให้ส่วนต่างจากการกู้นี้ คุณสามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้ และการชำระคืนก็ผ่อนรวมเป็นค่าบ้านปกติกับสถาบันการเงินได้เลย


3.เช็กค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน



หลัก ๆ เลยก็จะมี ค่าประเมินสินทรัพย์ราว 3,xxx บาท, ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้, ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน, ค่าประกันอัคคีภัย และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ตามเงื่อนไขของธนาคาร แต่บางที่เขาจัดโปรโมชั่น "รีไฟแนนซ์" อาจจะฟรีค่าใช้จ่ายหลายอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ต้องศึกษาให้รอบคอบ เพื่อให้ได้สินเชื่อใหม่ที่คุ้มค่าที่สุด


4.เช็กเครดิตบูโรให้ดี



"รีไฟแนนซ์บ้าน" เป็นกระบวนการเหมือนการยื่นกู้ซื้อบ้านใหม่ทั้งหมด ดังนั้นสถาบันการเงินต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรอย่างแน่นอน

ถามว่าหากมีประวัติผิดนัดชำระ หรือ ชำระล่าช้า จะมีผลต่อการพิจารณาสินเชื่ออย่างแน่นอน
ฉะนั้นเคลียร์หนี้ให้หมด ทำประวัติชำระให้ดี


5.เช็กเอกสารที่ต้องใช้



เอกสาร จะถูกแบ่งออกเป็น 3 อย่างด้วยกัน
⠀ㅤ⠀
1.เอกสารทั่วไป ซึ่งได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบสมรส (ถ้ามี) ใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
2.เอกสารหลักประกันต่างๆ
3.เอกสารแสดงรายได้
⠀ㅤ⠀
ซึ่งผู้กู้จำเป็นต้องจัดแจงให้เรียบร้อย เพื่อช่วยร่นระยะเวลาให้ธนาคารชั้นนำอนุมัติสินเชื่อบ้านเร็วยิ่งขึ้น


6.เช็กโปรโมชั่นของธนาคาร



เมื่อตั้งใจจะรีไฟแนนซ์ ก็ต้องเริ่มมองหาว่า จะรีไฟแนนซ์กับธนาคารไหนดี ซึ่งเดี๋ยวนี้แต่ละธนาคารมีการจัดโปรโมชั่นออกมาแข่งขันกันดุเดือด อันจะเป็นประโยชน์กับเราในฐานะผู้บริโภค และจะบอกว่าช่วงนี้ ปีนี้หรือปีหน้า ดูแล้วก็ยังไม่เห็นว่า จะมีเหตุผลใดที่จะมาสนับสนุนให้ดอกเบี้ยควรเป็นขาขึ้น


แต่นอกเหนือจากดอกเบี้ยในช่วงโปร 3 ปีแรกของที่ใหม่ที่ธนาคาร "ภูมิใจนำเสนอ" เราก็อย่าลืมสอบถามถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะตามมาด้วยนะคะว่า ทั้งหมดเท่าไหร่ที่เราต้องจ่าย ถามจากเจ้าหน้าที่ให้เคลียร์ จดไว้แล้วนำมาเปรียบเทียบกันสัก 2-3 ธนาคาร บางธนาคารอาจยกเว้น ค่าดำเนินการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ ยกเว้นค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจำนอง เป็นต้น ซึ่งเงื่อนไขแต่ละธนาคารจะแตกต่างกัน


เดี๋ยวนี้พนักงานธนาคารอธิบายดีขึ้นเยอะ เขาถูกฝึกมาดี จากนั้นเราก็ค่อยไปตัดสินใจเลือกธนาคารที่ให้เงื่อนไขเวิร์คที่สุด (ที่สำคัญคือดอกต้องต่ำลง และผ่อนต่อเดือนน้อยลง แบบนี้ฟิน! เพราะนั่นหมายถึงเราจะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นนะ)

 

รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคาร

 

 

สนใจรับคำปรึกษารีไฟแนนซ์บ้าน คอนโดฯ สอบถามเข้ามาได้ที่นี่  คลิกเลย หรือ แอด Line

บทความแนะนำล่าสุด


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ