ไม่มีรายการ

เก็บเงินล้านแรกไม่ใช่เรื่องยาก

เก็บเงินล้านแรกไม่ใช่เรื่องยาก

29 มกราคม 2563


 “เงิน” ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต แต่เกือบทุกอย่างต้องใช้ “เงิน”

ทุกวันนี้ เราทำงานหา “เงิน”

นำเงินที่หาได้ไปแลกกับปัจจัยสี่เพื่อยังชีพ

ตลอดจนเพื่อความรู้ ประสบการณ์ พักผ่อน ความสุข สุขภาพ และอีกมากมาย

หลายคนบาลานซ์รายได้กับหลายจ่ายได้ดี จนมีเงินเก็บออม และนำไปลงทุนต่อ

แต่กับอีกหลายคนก็ยังชักหน้าไม่ถึงหลัง ยังอยู่ในภาวะเดินชนเดือน หรือที่แย่ไปกว่านั้นถึงขั้นติดลบ
แต่เชื่อว่าทุกคนล้วนมีเป้าหมายเหมือนหรือคล้ายกัน “ล้านแรกในชีวิต”

เงินล้านแรกไม่ใช่เรื่องยาก

เพียงแต่ต้องลงมือทำ

เลือกลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้

และต้องรู้จักอดทนรอ

ตามกฎ 3 ข้อการลงทุน

1. ต้องมีเงิน

2. ผลตอบแทนเหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้

3. เวลา

 

เก็บเงินล้านแรก เริ่มต้นเดือนละเท่าไหร่ดี?

ว่ากันตามทฤษฎีการออม ที่ควรออมเงิน 30% ของรายได้ในแต่ละเดือน หากต้องการเก็บเงินครบล้านภายในเวลา 5 ปี ต้องมีรายได้ต่อเดือนอย่างน้อยที่สุด 53,007 บาท

 

*อ้างอิงผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี (2553-2562) จาก SETSMART, ThaiBMA และ BOT ที่ผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นไทย 9.4%, พันธบัตร 5.48%, หุ้นกู้ 4.55%, ทองคำ 4.43%, ฝากประจำ 1 ปี 1.9%

เมื่อว่ากันตามทฤษฎีการออม ที่ควรออมเงิน 30% ของรายได้ในแต่ละเดือน

หากต้องการเก็บเงินครบล้านภายในเวลา 5 ปี ต้องมีรายได้ต่อเดือนอย่างน้อยที่สุด 53,007 บาท (สำหรับการลงทุนโดยการนำไปฝากประจำ 1 ปี ที่ให้ผลตอบแทนน้อยที่สุด)

แต่ถ้าเลือกลงทุนในหุ้นไทย ก็มีรายได้ลดลงมาหน่อยซัก 43,734 บาท ก็พอ

แต่ถ้ามีเงินรายได้ต่อเดือนน้อยกว่านั้น หรือภาระค่าใช้จ่ายเยอะ จนไม่สามารถใช้สูตรเงินออม 30% ได้ ก็ต้องขยายเวลาเป้าหมายออกไปเป็น 10 ปี หรือ 15 ปี ก็จะใช้เงินลงทุนต่อเดือนน้อยลงตามตารางข้างต้น นั่นคือ พลังของเวลาที่จะช่วยให้เราลงทุนต่อเดือนน้อยลงนั่นเอง

ขอออกตัวไว้ก่อนนะครับ ว่าการคำนวณข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างอิงกับผลตอบแทนค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ล่าสุด เพื่อให้พอเห็นภาพเท่านั้น เพราะการลงทุนจริงยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เป็นความเสี่ยงทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งอาจจะทำให้ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายหรือยากมากขึ้น ^^


กลับกัน!!

ถ้าไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเวลา แต่อิงกับจำนวนเงินที่สามารถลงทุนได้ในแต่ละเดือน เช่น เดือนละ3,000 บาท 5,000 บาท เป็นต้น

แล้วอยากรู้เวลาจำนวนวเงินเท่านั้นจะใช้เวลากี่ปีกี่เดือนในการไปสู่เป้าหมาย ก็ทำได้เหมือนกัน

 

เก็บเงินเท่านี้...นานแค่ไหนจะครบล้าน

ถ้าเปลี่ยนโจทย์ใหม่ จะลงทุนต่อเดือนเท่านี้ เพื่อบรรลุเป้าหมาย 1 ล้านแรก ต้องใช้เวลานานแค่ไหน ทำให้ภาพชัดเจนว่ายิ่งเงินลงทุนต่อเดือนเพิ่ม ยิ่งทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้นเป็นทวีคูณ

*อ้างอิงผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี (2553-2562) จาก SETSMART, ThaiBMA และ BOT ที่ผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นไทย 9.4%, พันธบัตร 5.48%, หุ้นกู้ 4.55%, ทองคำ 4.43%, ฝากประจำ 1 ปี 1.9%

ถ้าเปลี่ยนโจทย์ใหม่ จะลงทุนต่อเดือนเท่านี้ เพื่อบรรลุเป้าหมาย 1 ล้านแรก ต้องใช้เวลานานแค่ไหน
ทำให้ภาพชัดเจนว่ายิ่งเงินลงทุนต่อเดือนเพิ่ม ยิ่งทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้นเป็นทวีคูณ

ดังนั้น เพื่อจะบรรลุเป้าหมายล้านแรกในชีวิต เราต้องทำ 3 สิ่งตามกฎ 3 ข้อการลงทุน คือ ต้องมีเงิน (สำคัญสุดนะจ๊ะ) นำเงินที่มีไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนตามระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ และให้เวลากับการลงทุน (ไม่ใช่ลงทุนเดือนนี้ เดือนหน้าจะรวยเลย)

พอจะเห็นภาพกันแล้วนะครับว่าล้านแรกไม่ใช่เรื่องยาก แต่! มันก็ไม่ง่าย

แต่!! ถ้าเราทำล้านแรกสำเร็จ ล้านที่ 2, 3 , 4 หรือ 5 ก็จะยิ่งง่ายขึ้น

 

ยังไง?

นำเงินล้านแรกไปลงทุนต่อ ห้ามเอามาใช้เด็ดขาด!!

โดยที่ยังลงทุนต่อด้วยจำนวนเงินในแต่ละเดือนเท่าเดิม

จะเห็นว่า ใช้เวลาในการเก็บเงินล้านที่ 2 ได้เร็วขึ้น เพราะเราเริ่มต้นจากล้าน ไม่ได้เริ่มต้นจาก 0 เหมือนล้านแรกนั่นเองครับ

*อ้างอิงผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี (2553-2562) จาก SETSMART, ThaiBMA และ BOT ที่ผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นไทย 9.4%, พันธบัตร 5.48%, หุ้นกู้ 4.55%, ทองคำ 4.43%, ฝากประจำ 1 ปี 1.9%

จะเห็นว่า ใช้เวลาในการเก็บเงินล้านที่ 2 ได้เร็วขึ้น เพราะเราเริ่มต้นจากล้าน ไม่ได้เริ่มต้นจาก 0 เหมือนล้านแรกนั่นเองครับ

จากล้านที่ 2 ไปล้านที่ 3

จากล้านที่ 3 ไปล้านที่ 4

และต่อไปยังล้านอื่นก็จะยิ่งเร็วมากขึ้น นี่ขนาดยังลงทุนต่อเดือนเท่าเดิม ถ้ายิ่งเพิ่มเงินลงทุนต่อเดือนก็จะยิ่งถึงเป้าหมายล้านต่อ ๆ ไปง่ายขึ้นกว่านี้อีกครับ

อยู่ที่ว่า วันนี้คุณเริ่มลงมือทำแล้วหรือยัง

ปล. สำหรับการคำนวณ สามารถเข้าไปคำนวณเองได้ง่าย ๆ ตามลิ้งค์ที่แนบมาให้นี้ได้เลยนะครับ https://www.mindphp.com/tools/pmt/index.php ลองปรับตามกำลังเงินลงทุนของเราเอง (จะได้ตัวเลขใกล้เคียงกับที่คำนวณเป็นตัวอย่างข้างต้น ที่ใกล้เคียงเพราะในบทความคำนวณจากการกดเครื่องคิดเลข BA II Plus ครับ)

“วางแผนปลดหนี้ให้เร็ว จะได้ใช้ชีวิตยามเกษียณอย่างมีความสุข” 

ดาวน์โหลด​แอปฯ Lumpsum​ ฟรี ได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
iOS
Android

บทความแนะนำล่าสุด


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ