ทำงานมาทั้งปี ต้องเสียภาษีเท่าไหร่?

มนุษย์คนทำงานอย่างเราๆ พอมีรายได้ ทุกปีเราก็มีหน้าที่ที่ต้องยื่นภาษีอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่การคำนวณเรียกเก็บภาษีนั้น ก็ใช่ว่าเราจะเสียภาษีตั้งแต่รายได้บาทแรก เรามีสิทธิที่จะหักค่าใช้จ่ายได้และมีสิทธิเลือกในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วย ซึ่งเชื่อว่าใกล้สิ้นปีแบบนี้ หลายๆคนก็คงเริ่มมองหาเพื่อจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกันแล้ว แต่ก่อนที่เราจะไปเลือกใช้สิทธิลดหย่อนให้ถูกต้อง ประหยัดและคุ้มค่า อยากชวนทุกคนไปคำนวณกันก่อนว่าทำงานหาเงินมาทั้งปี ต้องจ่ายภาษีกี่บาทกัน ภาษีที่ถูกเรียกเก็บ เขาคิดกันยังไง ก่อนอื่น อยากชวนทุกคนไปทำความเข้าใจกันก่อนว่าการคิดภาษีต้องมีข้อมูล 3 ส่วนนี้ก่อน คือ ㅤㅤㅤㅤรายได้ตลอดทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิ รายได้ตลอดทั้งปี สำหรับการวางแผนภาษีระหว่างปี คนที่มีรายได้ที่แน่ชัดอย่างเช่น เงินเดือน จะสามารถประมาณการล่วงหน้าได้ง่าย เพราะได้รายได้สม่ำเสมอ แต่สำหรับคนที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ อาจเลือกใช้วิธีประมาณรายได้คร่าวๆ เช่นจาก รายได้เฉลี่ยของช่วง3เดือน ล่าสุด หรือรายได้เดือนนี้ของปีที่แล้ว เพื่อที่อย่างน้อยน่าจะพอช่วยให้เห็นภาพได้ว่า ปีนี้จะต้องเสียภาษีประมาณเท่าไหร่ ค่าใช้จ่าย ในส่วนการหักค่าใช้จ่ายเป็นสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับตามประเภทของเงิน โดยประเภทของเงินได้แต่ละประเภทมีการหักใช้จ่ายที่แตกต่างกัน อย่างเช่น เงินได้ประเภทที่ 1 หรือ 40(1) รูปแบบรายได้ของมนุษย์เงินเดือน จะสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ขณะเดียวกัน ถ้าใครขายของออนไลน์ แบบซื้อมาขายไป จะตกอยู่ใน เงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8) ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง หรือ หักแบบเหมาได้ถึง 60% ดังนั้นก่อนจะไปดูว่าเราจะจ่ายภาษีเท่าไหร่ จำเป็นต้องรู้ว่ารายได้เราเป็นประเภทไหน เพราะ แม้รายได้เท่ากัน อาจเสียภาษีไม่เท่ากันก็ได้ ค่าลดหย่อนภาษี แม้เรามีหน้าที่ต้องยื่นภาษีทุกปี แต่ใช่ว่าเราต้องจ่ายภาษีแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะ ก็ยังมีทางเลือกให้เราสามารถประหยัดภาษีแบบถูกต้องได้ นั่นก็คือ การเลือกใช้สิทธิลดหย่อนภาษี โดยพื้นฐานสำหรับค่าลดหย่อน เราจะมีหนึ่งสิทธิติดตัวทุกคน นั่นก็คือ ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000บาท ส่วนค่าลดหย่อนอื่นๆ ก็สามารถเลือกใช้สิทธิได้ตามความเหมาะสมของแต่คนได้เลย แต่ผมแนะนำว่า การเลือกใช้สิทธิควรเลือกใช้สิทธิที่เหมาะสมกับเป้าหมายระยะยาวหน่อย เพราะ แม้เราจะได้ประหยัดภาษีก็จริง แต่การใช้สิทธินี้ก็มีเงื่อนไขที่ต้องถือรอคอยเวลาเช่นกัน เมื่อเรามีข้อมูลทั้ง 3 ส่วนนี้เรียบร้อยแล้ว เราก็พร้อมจะไปคำนวณภาษีกันต่อได้แล้ว โดยเราจะใช้ ㅤㅤㅤㅤรายได้ตลอดทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิ ซึ่งสำหรับรายได้สุทธิจะเป็นตัวเลขรายได้ขั้นสุดท้ายที่ถูกหักค่าใช้จ่ายเรียบร้อยแล้วและจะเอาไปคิดตามฐานภาษีขั้นบันได้ต่อไป นั่นหมายความว่า ถ้าเรามีรายได้สุทธิเหลือเยอะ ก็มีโอกาสต้องจ่ายภาษีเยอะนั่นเอง ยิ่งรายได้เยอะ ยิ่งเสียภาษีสูง สำหรับการคำนวณภาษี ถูกคิดคำนวณฐานภาษีแบบเป็นขั้นบันได ซึ่งในประเทศไทย จะมีฐานภาษี ตั้งแต่ 5% ไปสูงสุดที่ 35% ดังนั้น การที่เรามีรายได้เยอะหักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อนได้น้อย ก็จะยิ่งเสียภาษีอยู่ในฐานที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยวิธีการคิดภาษีแบบขั้นได เราสามารถคำนวณไปทีละขั้นก็ได้ เช่น รายได้สุทธิ 350,000 บาท ฐานภาษีฐานแรก 0 - 150,000 บาท ได้รับการยกเว้น ฐานภาษีที่ 2 150,001 - 300,000 บาท จะเสียภาษีที่ฐาน 5% สูงสุด 7,500 บาท = 150,000 x 5% = 7,500 บาท ซึ่งถ้าดูรายได้สุทธิในตัวอย่าง มีรายได้สุทธิ มากกว่า 300,000 บาท แสดงว่าฐานภาษี 5 % นี้เราจะเสียเต็มๆ หรือก็คือ 7,500 บาท แต่นี่ยังไม่หมด เพราะ เรามีรายได้สุทธิจริงๆที่ 350,000 บาท แสดงว่ายังมีส่วนที่ยังไม่ได้คิด ก็คือ 50,000 บาท โดย 50,000 บาทนี้จะขยับฐานภาษีขึ้นไปในลำดับขั้นถัดไป ในตัวอย่างนี้ก็คือ ฐาน 10% นั่นเอง ถ้าจากตัวอย่างเท่ากับว่า 50,000 x 10% = 5,000 บาท ดังนั้น หากมีรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อนแล้วอยู่ที่ 350,000 บาท จะต้องเสียภาษีทั้งหมด 7,500 + 5,000 = 12,500 บาท สำหรับวิธีการคิดแบบง่ายอีกวิธี สามารถใช้ รายได้สุทธิ เทียบกรอบฐานภาษีสูงสุดตามรายได้ของเรา เช่น รายได้สุทธิ 350,000 บาท ฐานภาษีสูงสุด 10% เงินได้สุทธิอยู่ระหว่าง 300,001 - 500,000 บาท = (เงินได้สุทธิ - 300,000) x10% แล้วนำภาษีที่ต้องจ่ายในฐานก่อนหน้า คือ 7,500 บาท มาบวกเข้าไป รายได้สุทธิ 580,000 บาท ฐานภาษีสูงสุด 15% เงินได้สุทธิอยู่ระหว่าง 500,001 - 750,000 บาท = (เงินได้สุทธิ - 500,000) x15% แล้วนำภาษีที่ต้องจ่ายในฐานก่อนหน้า คือ 27,500 บาท มาบวกเข้าไป เมื่อเรารู้ชัดเจนแบบนี้แล้วว่าเงินได้ของเราตลอดทั้งปี เมื่อหักค่าใช้จ่าย หักสิทธิลดหย่อนที่มีปัจจุบันแล้ว ถ้าเราอยากใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่มเติมทั้งหมดเท่าไหร่ เพื่อให้เราสามารถใช้สิทธิได้ถูกต้องไม่ผิดเงื่อนไขแถมช่วยให้ประหยัดภาษีได้คุ้มค่ามากขึ้น

  เทส ธนสิทธิ์


  25 พฤศจิกายน 2567

ทำงานมาทั้งปี เรารวยขึ้นแค่ไหน?

เชื่อว่าปีนี้ก็คงเป็นอีกปีของหลายๆคน ที่พยายามทำงานมากขึ้น หารายได้ให้มากขึ้น เพื่อหวังว่าเราจะมีมั่งคั่งเพิ่มขึ้นและรวยมากขึ้น จนบางทีมารู้ตัวอีกที ชีวิตทั้งหมดในช่วงนี้ก็ไปโฟกัสแค่การทำงาน หาเงินอย่างเดียว⠀ผมเลยอยากชวนทุกคน ลอง หยุด ! และถอยออกมาดูกันหน่อยครับว่า ทำงานมาทั้งปี รวยขึ้นแค่ไหนกัน เพราะบางทีการมองแต่ข้างหน้า การหารายได้เยอะขึ้น ก็ไม่ได้การันตีว่าเราจะรวยขึ้นจริงๆ⠀ซึ่งอยากชวนทุกๆคนมารีวิว ความมั่งคั่งของเรากัน ผ่านการทำ Balance Sheet หรืองบดุลส่วนบุคคล งบดุลส่วนบุคคล หน้าตาเป็นยังไง ผมว่าเราทุกคนก็เหมือนบริษัทนึง เรามีรายได้ เรามี สินทรัพย์ (Asset) เรามี หนี้สิน (Liabilities)⠀สินทรัพย์ (Asset) ก็คือ มูลค่า ณ ตอนนี้ ของทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่เราได้มา เราซื้อมา ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ที่เพิ่งผ่อนหมด เงินสดในบัญชี บ้าน รถ นาฬิกา กระเป๋า ของที่มีมูลค่า สามารถขายเปลี่ยนเป็นเงินสดได้⠀หนี้สิน (Liabilities) เป็นอีกฝั่งที่ก็เป็นของเราเช่นเดียวกัน แต่เป็นสิ่งที่เรายืมเขามา นั่นหมายความว่าเราก็ต้องคืนตามที่ตกลงกันไว้⠀ดังนั้น ถ้าเราอยากรู้ว่าเรารวยแค่ไหน เรามีความมั่งคั่งเท่าไร เราก็ต้องดูส่วนที่มันเป็นของเราจริงๆนั่นก็คือเอา สินทรัพย์ (Asset) - หนี้สิน (Liabilities)⠀ ซึ่งการกรอกแยกฝั่งแบบนี้จะทำให้เห็นชัดเจนขึ้น ว่า ฝั่งไหนเยอะกว่ากันถ้าทรัพย์สินรวมเรามากกว่าหนี้สินรวม ก็ต้องบอกว่าเราเดินมาถูกทางแล้ว⠀สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือ ทำให้ทรัพย์สินรวมมากกว่าหนี้รวมเเสมอ ซึ่งก็อาจจะเป็นในรูปแบบของการเก็บออม การลงทุน หรือซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น รวมถึงการพยายามลดฝั่งของหนี้สินลงเรื่อยๆ แต่ถ้าเรามีรายได้เยอะขึ้นก็จริง แต่เราซื้อของส่วนใหญ่ เป็นของที่ไม่ได้มีมูลค่าหรือซื้อแล้วมูลค่าก็ลดลงไปทุกวันๆ แบบนี้ก็เหมือนว่า เราทำงานแทบตาย แต่ไม่ได้รวยขึ้นเลย⠀เพราะ อย่าลืมครับว่า ความมั่งคั่งสุทธิ หรือความรวยของเราจริงๆ มาจากสิ่งที่เรายังไม่ได้จ่ายและจากมูลค่า ณ ตอนนี้ ของสิ่งที่เรามี⠀ ถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับผมไม่ได้ต้องการให้คุณไม่ใช้จ่าย ไม่ซื้อของที่อยากได้ และไม่ใช่ของทุกอย่างที่มูลค่าลดลง หรือ ทำงานมาเหนื่อยๆ ห้ามซื้อความสะดวกสบาย แต่การมาคอยเช็ค ความมั่งคั่งของเราเอง ผ่านการทำ Balance Sheet หรืองบดุลส่วนบุคคล สัก 6 เดือนที 1ปีที เพื่อให้เห็นว่าความพยายาม ความอดทน ทำงานมาทั้งปี เรารวยขึ้นเท่าไรกัน⠀เพราะหลายครั้งที่ผมลองทำมา มันก็ชวนให้ได้หันกลับมามองตัวเองและคิดได้ว่า ถ้าเราปรับความต้องการบางอย่าง เรามีทางเลือกอื่นมากกว่าวิ่งๆทำงานไปข้างหน้า จนไม่มีเวลาให้ตัวเองและคนรอบข้างแต่เราไม่รวยขึ้นเลย

  เทส ธนสิทธิ์


  25 พฤศจิกายน 2567

เช็คลิสต์วิธีวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มั่นคง

วัยหนุ่มสาวที่เพิ่งเริ่มทำงาน และยังมีรายได้ไม่มากนัก ล้วนประสบปัญหาการใช้เงินแบบเดือนชนเดือน แต่ในขณะเดียวกันก็หวังที่จะเก็บเงินสะสมให้ได้จำนวนมากเช่นกัน ซึ่งการที่จะไปถึงจุดนั้นจำเป็นต้องมีแบบแผน มีวิธีวางแผนการเงิน เพื่อให้เห็นแนวทางจัดการที่ชัดเจน สามารถทำตามแผนได้และนำไปสู่ชีวิตที่มั่นคง วันนี้เราจึงขอพาทุกคิดไปดูเช็คลิสต์วิธีวางแผนการเงิน ที่จะช่วยให้เห็นแนวทางในการวางแผนการเงิน และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้ชีวิตการเงินมีความมั่นคงมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว ไปติดตามรายละเอียดกันเลย เริ่มต้นตั้งเป้าหมายทางการเงินแบบ S-M-A-R-T Goals วิธีวางแผนการเงินควรเริ่มต้นด้วยตั้งเป้าหมายทางการเงินแบบ S-M-A-R-T Goals เพราะเปรียบเสมือนเข็มทิศที่ช่วยนำทางให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิธีจัดการเรื่องเงินแบบ S-M-A-R-T Goals สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ ㅤㅤSpecific คือการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและเจาะจง รวมถึงสามารถแบ่งเป้าหมายได้หลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนเงินและระยะเวลาที่จะใช้ เพื่อไม่ให้กดดันตนเองจนเกินไป ตัวอย่างเช่น เป้าหมายย่อยคือการออมเงินให้ได้ 10% ของเงินเดือนทั้งหมด และเป้าหมายใหญ่คือการเก็บเงิน 1 ล้านบาทภายใน 10 ปี ㅤㅤMeasurable คือ การมีตัวชี้วัด เพื่อติดตามผลการปฏิบัติการด้านการเงิน ในขณะเดียวกันเราก็สามารถปรับแก้แผนได้ตามความเหมาะสม ㅤㅤAchievable คือ การรู้ว่าต้องทำอย่างไรเป้าหมายถึงจะมีโอกาสสำเร็จ รวมถึงรู้ขั้นตอน รู้วิธีการ บนพื้นฐานทรัพยากรที่มีอยู่ ㅤㅤRealistic คือ การวางแผนการเงินที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ชีวิตของตนเอง ในขณะเดียวกันก็เป้าหมายนั้นก็ควรที่จะไม่เกินกำลังตัวเองจนเกินไป มีโอกาสบรรลุผลลัพธ์ได้จริง ㅤㅤTime-bound คือ การกำหนดระยะเวลาสำหรับเป้าหมายด้านการเงิน เพื่อให้เราดำเนินการอย่างมุ่งมั่น และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ทำตามเป้าหมาย แยกบัญชีออมเงินชัดเจน ㅤㅤหนึ่งในวิธีวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพ คือการแบ่งเงิน 10% - 30% ให้ชัดเจนในทุกเดือน เพื่อสร้างวินัยในการออมมากขึ้น โดยสามารถเก็บเข้าบัญชีออมเงินแบบฝากประจำหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆที่สอดคล้องกับเป้าหมายการเงิน ป้องกันความเสี่ยงไม่ให้กระทบกับแผนการเงิน ㅤㅤเรื่องสุขภาพและอุบัติเหตุ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบกับแผนการเงินของเราได้ เพราะหากป่วยหรือประสบอุบัติเหตุต้องนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอาจสูงกว่าที่คิด และจะส่งผลกระทบไปยังคนในครอบครัว รวมถึงเงินเก็บในบัญชีของเราได้เช่นกัน ดังนั้น ส่วนหนึ่งการวางแผนการเงินที่ไม่ควรละเลย คือการ ป้องกันความเสี่ยงที่จะกระทบการเงินเราโดยตรง อย่างการทำประกัน รวมถึงการลดความเสี่ยงที่สามารถทำได้เอง อย่างการใช้ชีวิตอย่างมีสติ และดูแลสุขภาพอยู่เสมอ จะช่วยลดผลกระทบกับแผนการเงินของคุณได้เป็นอย่างดี เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน ㅤㅤการวางแผนการเงินและมีเงินสำรองฉุกเฉินจะช่วยให้เรารับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันเราต่างต้องพบเจอแต่ความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นกรณีตกงาน หรือเจ็บป่วย ดังนั้น การวางแผนการเงิน ที่ดีเราควรเตรียมพร้อมเงินสำรองฉุกเฉินด้วย ซึ่งอาจเริ่มต้นด้วยการประเมินรายจ่ายต่อเดือน แล้วเก็บเงินให้ได้ 3-6 เดือน ของค่าใช้จ่าย เพื่อให้เงินจำนวนนี้เพียงพอต่อการปรับตัวเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด ต่อยอดเงินสร้างรายได้เพิ่ม ㅤㅤการวางแผนการเงินด้วยการสร้างรายได้เพิ่มเติมมากกว่าการประจำที่ทำอยู่ เป็นวิธีทำให้เราสามารถเก็บเงินตามเป้าหมายได้เร็วขึ้น โดยวิธีการสร้างรายได้อาจเริ่มจากสิ่งที่เราชอบ ใช้เงินน้อย เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงแรก หรือหากใครพอเก็บเงินได้ส่วนหนึ่ง สามารถดูเรื่องการลงทุนเพิ่มได้ อย่างการลงทุนกองทุนรวม หุ้นพื้นฐาน หรือแม้แต่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ก็จะยิ่งช่วยให้รายได้ที่หามาได้และอดทนอดออมงอกเงยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนเช่นกัน บริหารหนี้และวางแผนเกษียณ ㅤㅤการไม่ก่อหนี้โดยไม่จำเป็น และรักษาสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ไม่เกิน 30% - 40% จะช่วยให้สุขภาพทางการเงินของเรามั่นคง อีกทั้งการมองหาประกันชีวิตเพื่อวางแผนเกษียณ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เรามีหลักประกันรายได้สำหรับวัยเกษียณที่แน่นอน และที่สำคัญคือทำให้เราและคนในครอบครัวไม่ต้องกังวลเรื่องวางแผนการเงิน และภาระค่าใช้จ่ายชีวิตหลังเกษียณเช่นกัน ปรับวิธีคิด วิธีคิดหรือ Mindset คือสิ่งที่กำหนดว่าเราแตกต่างจากคนทั่วไปอย่างไร ㅤㅤหลายคนอาจจะเข้าใจว่า การวางแผนการเงินอาจจะทำให้เรารวย มีเงินใช้เยอะๆ แต่เป้าหมายหลักของการวางแผนการเงิน คือ ช่วยให้การดำเนินชีวิตของเราในแต่ละวันไม่ต้องกังวลกับเรื่องการเงิน รวมถึงช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้ในแบบที่ต้องการ โดยมีเงินเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ไปถึงเป้าหมายนั้นๆ ดังนั้น การวางแผนการเงินอย่างมีวินัย มีเป้าหมายเล็ก ๆ ในแต่ละวัน เป็นนักอ่านและผู้ฟังที่ดี เพื่อให้เราสามารถพัฒนาต่อยอดทั้งความรู้และเงินของตนเองได้เสมอ จะช่วยให้เรามีชีวิตการเงินที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน สรุป ㅤㅤทั้งหมดนี้คือเช็คลิสต์วิธีวางแผนการเงินที่สามารถทำตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้ชีวิตการทำงานมีความมั่นคงมากขึ้น ทั้งนี้ เราควรนำไปปรับใช้กับสถานะทางการเงิน และกรอบเวลาของตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อให้การวางแผนการเงิน ทำได้อย่างราบรื่น และไปถึงเป้าหมายโดยที่ไม่กดดันตัวเองจนเกินไป ㅤㅤปรึกษาวิธีวางแผนการเงิน เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายและสุขภาพทางการเงินในปัจจุบันของคุณกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจาก Lumpsum คลิกที่เว็บไซต์ www.lumpsum.in.th หรือที่แอปพลิเคชัน Lumpsum บนระบบ IOS และ Android

  Lumpsum .


  16 สิงหาคม 2567

ขอสินเชื่อส่วนบุคคลไม่ยากอย่างที่คิด กับ 5 เทคนิคขอสินเชื่อให้ผ่าน ฉลุย !!!

ปัจจุบันหลายคนบ่นกันมากว่า ทำไมการขอสินเชื่อเดี๋ยวนี้มันยากขึ้นกว่าแต่ก่อน แถมดอกเบี้ยก็แพงขึ้นด้วย ทำไมต้องมีขั้นตอนนู่นนี่นั่นให้ยุ่งยาก ทั้งๆที่ทางธนาคารเองก็ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ย ⠀ ซึ่งจริงๆแล้วที่ทางธนาคารต้องเข้มงวดในเรื่องการขอสินเชื่อ ก็เพื่อทำให้มั่นใจว่า เราสามารถคืนเงินเขาได้ครบถ้วนทั้งต้นทั้งดอก เพราะอย่างที่เราเห็นๆกันว่า ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ไกล่เกลี่ยกันเรื่องหนี้ ⠀ สำหรับใครที่กำลังมีแผนจะยื่นขอสินเชื่อ หรือเคยยื่นขอแล้วแต่ไม่ผ่าน มาฟังทางนี้เลย เพราะวันนี้ผมจะมาบอก 5 เทคนิคขอสินเชื่อให้ผ่าน ฉลุย อ่านจบและทำตามนี้ กู้ผ่านแน่นอน ⠀ 1.ตรวจสอบตัวเอง สิ่งแรกที่ควรทำและเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเลย ก็คือการสำรวจดูตัวเราเองก่อน ว่าเรามีหนี้ติดตัวมากแค่ไหน หรือมีประวัติชำระหนี้ไม่ดีรึเปล่า ถ้าเรามีเคยประวัติจ่ายหนี้ช้า ค้างค่างวดบ่อย ก็อาจจะทำให้ทางธนาคารพิจารณาไม่ปล่อยสินเชื่อได้ และถ้าหากมีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนเกิน 40% ของรายได้ เช่น ถ้าเรารายได้ 20,000 แต่หนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท แล้วจะขอกู้เพิ่มอีก ผมมั่นใจว่าคุณจะกู้ไม่ผ่านแน่ๆ ฉะนั้น เคลียร์ตัวเองให้เรียบร้อยก่อน ⠀ 2.เดินบัญชีให้มีเงินหมุนเวียนในบัญชี คนที่ทำงานประจำไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะในบัญชีน่าจะได้รับเงินเป็นประจำทุกเดือนอยู่แล้ว จากเงินเดือนที่เข้าทุกเดือน แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำ พ่อค้า แม่ค้า ที่ได้รายได้เป็นเงินสด ก็ควรที่จะนำเงินไปฝากอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อให้ทางธนาคารรู้ว่าเรามีเงินเข้าเป็นประจำ สม่ำเสมอ ⠀ 3.ทำประวัติการชำระหนี้ให้ดี สำหรับใครที่กำลังจ่ายหนี้อะไรอยู่ด้วย ก็อยากจะให้พยายามจ่ายหนี้เดิมอย่างสม่ำเสมอ ไม่จ่ายช้า ไม่มีหนี้คงค้าง เพราะทางธนาคารจะตรวจสอบเครดิตบูโรเราอย่างแน่นอน ถ้าเครดิตไม่ดี ก็แทบจะหมดโอกาสได้กูเพิ่ม ⠀ 4.ศึกษาข้อมูลหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของแต่ละธนาคารก่อนยื่นสมัคร แน่นอนว่าทุกๆธนาคารมักจะมีหลักเกณฑ์ในการยืนขอสินเชื่อของแต่ละธนาคาร พยายามศึกษาให้ดี เพื่อที่เราจะได้มีโอกาสขอสินเชื่อผ่านได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอายุ รายได้ หรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเรา ⠀ 5.เตรียมหลักฐานและเอกสารให้พร้อม การไปขอเงินคนๆนึง จะแค่เดินไปแล้วขอเงิน เขาก็คงไม่ให้เราแน่ๆ เลยจำเป็นที่จะต้องมีหลักฐาน ที่อยู่ สลิปเงินเดือน เพื่อดูว่าเราสามารถจ่ายหนี้ไหวไหม ⠀ โดยมีเอกสารดังนี้ ⠀⠀- สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ ⠀⠀- สำเนาทะเบียนบ้าน ⠀⠀- สลิปเงินเดือน(ตัวจริงหรือสำเนา) หรือหนังสือรับรองเงินเดือนหรือหนังสือรับรองรายได้ (ตัวจริง) ⠀⠀- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ของผู้สมัคร (สำเนาหน้าบัญชีสำหรับโอนเงิน) ⠀ และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่ผมอยากจะฝากเอาไว้นะครับ สำหรับใครที่กำลังจะไปยื่นขอสินเชื่อ อยากให้จะหันกลับมาเช็กตัวเองอีกสักหนึ่งครั้งนะครับ ว่าการขอสินเชื่อครั้งนี้ จะไม่ทำให้ชีวิตลำบากขึ้นใช่ไหม เราจะสามารถชำระคืนได้ทั้งต้นทั้งดอกจริงๆรึเปล่า เพราะผมก็เห็นหลายคนเช่นกัน ที่ดีใจมีความสุขตอนกู้ผ่าน และมาเช็ดน้ำตาทีหลังตอนจ่ายหนี้ ก็อยากฝากให้ทุกคนได้เก็บไปคิดสักนิดนึงก่อนยื่นขอสินเชื่อ ⠀ แต่สำหรับใครที่เตรียมตัวมาดีแล้ว ทั้งในด้านเครดิตบูโรและเอกสาร ก็สามารถยื่นขอกู้ได้เล้ยยย ใครขอสินเชื่อผ่านอย่าลืมทักมาบอก หรือมาคอมเม้นต์บอกกันด้วยเด้อ !! ⠀ ขอสินเชื่อผ่าน Lumpsum กู้ง่าย ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน ดีลกับแบงก์โดยตรง คลิกเลย! หรือสอบถามได้ที่ Line: @lumpsumofficial

  ธนากร นวมรัตน์


  11 มิถุนายน 2567

รีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ทางออกหนี้ของคนมีบ้าน

ㅤㅤปัจจุบันหลายคนที่มีบ้านและผ่านระยะเวลาการผ่อนชำระบ้านตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ต่างก็ต้องการลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว นั่นจึงทำให้การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน เป็นทางเลือกอันดับแรก ๆ ที่คนส่วนใหญ่นึกถึง เนื่องจากการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน คือการได้รับสิทธิ์กู้เงินอเนกประสงค์เพิ่มเติมจากมูลค่าบ้าน และเงินสดนี้ยังสามารถนำไปบริหารสภาพคล่องได้ตามที่ผู้กู้ต้องการอีกด้วย ดังนั้น ในบทความชิ้นนี้ เราจะไปหาคำตอบพร้อมกันว่า เพราะอะไรการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน จึงเป็นทางออกหนี้สำหรับคนมีบ้าน ถ้าพร้อมแล้ว เราไปติดตามรายละเอียดกันเลย นำไปปิดหนี้บัตรเครดิตต่าง ๆ อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่าการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ทำให้เราได้รับสิทธิ์ในการกู้เงินอเนกประสงค์เพิ่มเติมจากมูลค่าบ้าน โดยเงินสดก้อนนี้สามารถนำไปใช้ปิดหนี้บัตรเครดิตได้ด้วย เพราะอัตราดอกเบี้ยของหนี้บัตรเครดิตสูงถึง 16 - 25% ซึ่งถือว่าสูงมากหากเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยเงินกู้อเนกประสงค์ ดังนั้น การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน จึงเป็นข้อดีที่สำคัญที่ทำให้ได้รับเงินกู้เพื่อมาปิดหนี้ดังกล่าว นอกจากนำเงินไปปิดภาระหนี้ต่างๆแล้ว การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินที่ได้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ยังคุ้มค่าที่จะนำเงินไปจัดสรรเรื่องการเงินด้านอื่นๆได้อีกด้วย นำไปบริหารสภาพคล่อง ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อใดชีวิตจำเป็นต้องใช้เงิน ซึ่งหลายคนที่มีภาระค่าใช้จ่ายสูง มีคนในครอบครัวต้องดูแล หรือแม้แต่เจ้าของธุรกิจต่างต้องการบริหารสภาพคล่อง การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้เรามีเงินนำไปใช้บริหารสภาพคล่องหรือเหตุจำเป็นต่าง ๆ ในชีวิต โดยใช้อสังหาริมทรัพย์อย่างที่อยู่อาศัยมาใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ได้ ซึ่งทำให้เราได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงอย่างมาก นี่จึงเป็นข้อดีที่ไม่ควรมองข้ามของการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน นำไปต่อเติมและซ่อมแซมบ้าน การต่อเติมหรือซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัยมานานหลายปีเป็นเรื่องปกติ ซึ่งหากผ่อนบ้านครบ 3 ปี ถือเป็นจังหวะที่เหมาะสมที่จะได้รีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน เพราะนอกจากได้ดอกเบี้ยบ้านที่ถูกลง การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ยังช่วยให้ได้เงินสดจำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ต่อเติมให้บ้านได้มีฟังก์ชันแบบที่ต้องการ ได้ใช้งานจริง และช่วยซ่อมแซมให้บ้านกลับมามีชีวิตชีวาน่าอยู่อีกครั้ง คำถามสำคัญ รีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ที่ไหนได้บ้าง ? ㅤㅤการรีไฟแนนซ์บ้าน คือการปิดภาระหนี้ก้อนเดิมด้วยวงเงินกู้ใหม่ โดยใช้บ้านหลังเดิมเป็นหลักประกัน ดังนั้น สามารถยื่นกู้จากธนาคารไหนก็ได้ที่ช่วงเวลานั้นมีโปโมชันการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ยกเว้น ธนาคารเดิมที่มีภาระหนี้อยู่ ㅤㅤแต่หากต้องการใช้ธนาคารเดิม จะเรียกว่าเป็นการรีเทนชั่น (Retention) หรือการขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม โดยธนาคารเดิมจะทำการประเมินประวัติการชำระสินเชื่อบ้านว่าตรงตามเงื่อนไขหรือไม่ จากนั้นธนาคารจะเสนออัตราดอกเบี้ยใหม่ในวงเงินกู้เดิมให้กับเรา ซึ่งข้อดีของการรีเทนชั่น (Retention) จะไม่มีภาระค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมต่างๆตามมา แต่อาจจะไม่ได้อัตราดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับการ รีไฟแนนซ์บ้าน สรุป ㅤㅤการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินเป็นทางออกหนี้สำหรับผู้มีบ้าน ที่ทำให้เรามีเงินก้อนสามารถนำไปปิดหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสดต่าง ๆ และทำให้เรามีเงินนำไปใช้จ่ายจำเป็นในชีวิต หรือที่เรียกว่าเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน รวมถึงช่วยให้เรามีเงินก้อนนำไปต่อเติมหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้กลับมาเหมือนใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ควรตรวจสอบเงื่อนไขและข้อเสนอกับธนาคารเดิม หากไม่ติดสัญญาหรือผิดเงื่อนไข เราก็สามารถดำเนินการรีไฟแนนซ์บ้านได้เลย ㅤㅤทุกข้อสงสัยและทุกคำถามเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินจะเป็นเรื่องง่าย และตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคุณ เพียงรับคำปรึกษาด้านการเงินจากผู้เชี่ยวชาญ Lumpsum คลิกที่เว็บไซต์ www.lumpsum.in.th หรือที่แอปพลิเคชัน Lumpsum บนระบบ IOS และ Android เพราะเราอยากเห็นทุกคนมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีตลอดไป สนใจรับคำปรึกษารีไฟแนนซ์บ้าน คอนโดฯ สอบถามเข้ามาได้ที่นี่ คลิกเลย หรือ แอด Line

  Lumpsum .


  30 พฤษภาคม 2567

แจกฟรีตารางผ่อนบ้าน พร้อมเคลียร์ชัดผ่อนบ้านทีทำไมถึงเสียดอกเบี้ยเป็นล้าน!!

เชื่อว่าหลายคนที่อาจซื้อบ้านมาแล้ว หรือกำลังสนใจอยากมีบ้านสักหลัง ก็คงเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้าง ว่าถ้าเราผ่อนบ้านสักหลัง ผ่อนไปเรื่อยๆ มารู้ตัวอีกทีเงินที่จ่ายไปก็แทบจะซื้อบ้านหลังข้างๆเพิ่มได้อีกหนึ่งหลังกันเลยทีเดียว แต่ถ้าดูจากเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเปรียบเทียบกับสินเชื่อประเภทอื่นๆดอกเบี้ยบ้านก็ยังถือว่าต่ำกว่ามาก แล้วทำไมเราถึงเสียดอกเบี้ยมากมายขนาดนี้กันวันนี้ผมจะพาไปไขข้อข้องใจพร้อมเคลียร์กันชัดๆ คำนวณกันแบบบรรทัดต่อบรรทัด ด้วย ตารางผ่อนบ้าน ที่เราทำแจกฟรี ให้หายสงสัยกันไปเลย ถ้าใครอยากลองเอา ตารางผ่อนบ้าน ไปใส่ตัวเลขยอดกู้และดอกเบี้ยของตัวเอง เพื่อคำนวณไปพร้อมๆกับเราก็สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ตารางผ่อนบ้าน คลิกที่นี่ 1.ยอดกู้ อัตราดอกเบี้ย ค่างวด ระยะเวลา ก่อนอื่นเราจะใส่ตัวแปรสำคัญในการคิดดอกเบี้ยบ้านกันก่อน ยอดเงินกู้ สำหรับยอดเงินกู้ เราจะใส่จำนวนเงินที่เรากู้จริงกับธนาคาร โดยไม่สนใจว่าราคาบ้านจริงๆเท่าไหร่ ดาวน์ไปเท่าไหร่ เอาแค่วงเงินกู้หรือเงินต้นที่จะถูกคิดดอกเบี้ยเท่านั้น อัตราดอกเบี้ย สำหรับอัตราดอกเบี้ย เราจะใส่อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจริงๆแบบปีต่อปี ซึ่งตารางผ่อนบ้านนี้ ผมปรับรูปแบบใหม่ให้สามารถใส่อัตราดอกเบี้ยโปรโมชันในแต่ละปีที่อาจไม่เท่ากัน จะได้คำนวณชัดๆกันไปเลย ซึ่งหากใครใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงดอกเบี้ย MRR (Minimum Loan Rate) แล้วมีโปรโมชันส่วนลดเพิ่มเติม ก็ให้ใช้ตัวเลข MRR ปัจจุบัน - ส่วนลด ได้เลย เช่น MRR 7.25% - 3.75% = 3.5% เราก็จะใช้ตัวเลข 3.5% ไปเป็นอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณ ค่างวด อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญไม่แพ้สองข้อข้างบน ก็คือ ค่างวด เพราะยิ่งผ่อนจ่ายในแต่ละงวดเยอะ ก็มีโอกาสที่เงินจะเข้าต้นเยอะขึ้นและแน่นอนว่าก็ช่วยให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็ลดลงไปด้วย ระยะเวลา แม้อัตราดอกเบี้ยบ้านที่เราผ่อนกันอาจจะดูไม่สูงเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อประเภทอื่นๆ แต่พอเราผ่อนกันยาวๆ เสียดอกเบี้ยหลายๆปี ก็เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยรวมเยอะตามไปด้วย 2.ต้องจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมดเท่าไหร่ หลายๆคนอาจจะรู้สึกว่าการผ่อนบ้านสักหลัง แค่เรามีความสามารถในการจ่ายไหวผ่อนได้ก็น่าจะพอสำหรับการซื้อบ้านสักหลังแล้ว แต่ถ้ารู้ว่าดอกเบี้ยที่ต้องเสียไปเท่าไหร่ คุณอาจจะอยากทำความเข้าใจเรื่องดอกเบี้ยและคอยจัดการให้ดอกเบี้ยต่ำสม่ำเสมอ ซึ่งใน ตารางผ่อนบ้าน เมื่อใส่ข้อมูลครบถ้วนแล้ว ตารางจะคำนวณออกมาให้ทั้งหมดเลยว่าถ้าผ่อนแบบเงื่อนไขนี้ไปเรื่อยๆโดยไม่ทำให้ดอกเบี้ยต่ำสม่ำเสมอจะต้องเสียดอกเบี้ยเท่าไหร่ ซึ่งผมได้ทำตารางสรุปดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายไว้ 2 ส่วน ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมดตลอดสัญญา ในตัวอย่างที่ผมกำหนดไว้ก็คือ 30 ปี ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นระยะเวลาในการทำสัญญาผ่อนบ้านที่หลายคนใช้ และถ้าดูจากตัวอย่างนี้ บ้านราคา 3,000,000 บาท แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยถึง 2,682,751 บาท เลยทีเดียว !! ดอกเบี้ยและเงินต้นที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปี ที่ผมแยกให้แบบนี้ เพราะ ตารางผ่อนบ้านนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการคำนวณเพื่อวางแผนที่จะรีไฟแนนซ์ได้ด้วย เพราะในปัจจุบันแต่ละธนาคารก็ออกโปรโมชันออกมามากมาย เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าไปรีไฟแนนซ์ด้วย แต่ละโปรโมชันก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนั้นสามารถใช้ ตารางผ่อนบ้าน นี้ไปเปรียบเทียบชัดๆได้เลยว่าา หากเรารีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ แล้วต้องผ่อนเท่านี้เจออัตราดอกเบี้ยเท่านั้น ตลอด 3 ปีเงินที่จ่ายเข้าไปแต่ละงวดจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่าไหร่และจะเหลือเข้าต้นเท่าไหร่ แถมเพิ่ม !!! ช่องค่าใช้จ่ายการดำเนินการที่เป็นอีกภาระค่าใช้จ่ายสำคัญในการรีไฟแนนซ์ที่หลายคนมักหลงลืม ซึ่งช่องนี้ผมให้กรอกตัวเลขไว้เฉยๆครับจะได้ไม่ลืม แต่สุดท้ายให้เอา ดอกเบี้ยรวม 3 ปี + ค่าใช้จ่ายการดำเนินการ = รายจ่ายสำหรับการรีไฟแนนซ์ ซึ่งสามารถเอาไปเทียบกับการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ หรือ ขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมได้เลยว่า แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน !!! 3.ทำไมถึงเสียดอกเบี้ยเป็นล้าน ดอกเบี้ยบ้านถูกคำนวณแบบลดต้นลดดอก หรือ Effective Rate โดยตัวแปรสำคัญหลักๆส่วนแรกก็คือ ยอดเงินต้นที่กู้กับธนาคารและอัตราดอกเบี้ย ถ้าเงินต้นสูง ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็ต้องสูง ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูง ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็ต้องสูง เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เทียบกันชัดๆผ่าน ตารางผ่อนบ้าน กันไปเลย ในตัวอย่างจะเห็นว่าช่วงปีที่ 1 หรือ งวดที่ 1-12 เป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินที่จ่ายเข้าไปแต่ละงวดจะเข้าดอกเบี้ยน้อยและจะเข้าเงินต้นเป็นส่วนใหญ่ แบบนี้จะยิ่งทำให้ยอดหนี้ลดลงเร็วขึ้น แต่พอเริ่มเข้าช่วงปีที่ 2 หรือ ตั้งแต่งวดที่ 13 ถ้าผ่อนแบบขั้นบันได อัตราดอกเบี้ยจะเริ่มสูงขึ้น ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนก็จะเพิ่มขึ้นด้วย อย่างในตัวอย่างดอกเบี้ยปรับขึ้นจาก 4,000 บาท เป็น 8,000 บาท เรียกได้ว่าขึ้นมาอีกเป็นเท่าตัว ยิ่งเห็นภาพชัดขึ้นในช่วงหลังหมดโปรโมชันดอกเบี้ยพิเศษ อย่างในตัวอย่างนี้คือปีที่ 4 เป็นต้นไปที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ย MRR เป็นหลัก ถึงยอดผ่อนต่อเดือนจะขยับไปที่ 16,000 บาท แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยถึง 75% ของค่างวดเลยทีเดียว และแม้ว่าเราจะผ่อนต่อเดือนสูงขึ้น แต่ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเช่นกัน เงินที่จ่ายไปส่วนใหญ่ก็ยังไปเข้าฝั่งของดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นอยู่ดี หากเรามองระยะสั้น การผ่อนแบบ 6 เดือน 1 ปี 3 ปี ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรวมๆก็อาจจะไม่ได้สูงมาก แต่สำหรับภาระหนี้ก้อนใหญ่อย่างบ้าน เราผ่อนกันยาวๆ 30 ปี 40 ปี ดังนั้น เมื่อระยะเวลายาวนาน ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย เดือนละหลักพัน หลักหมื่น รวมๆแล้วก็ทำให้เราต้องเสียดอกเบี้ยกันเป็นล้านๆ เกือบได้บ้านกันอีกเป็นหลังๆ เพราะตัวแปรสำคัญคือ เวลา นั่นเอง น่าจะเห็นภาพชัดขึ้นผ่าน ตารางผ่อนบ้าน ที่วันนี้เอามาฝากกันนะครับ ว่าตัวแปรสำคัญมาจาก ยอดเงินต้นที่กู้กับธนาคารสูง อัตราดอกเบี้ย ค่างวด และระยะเวลาผ่อนที่นานเลยเป็นสาเหตุทำให้ผ่อนบ้านกันทีเสียดอกเบี้ยกันเป็นล้าน แล้วบ้านที่คุณกำลังผ่อนอยู่หรือกำลังสนใจอยากจะซื้อ เสียดอกเบี้ยเท่าไหร่ ลองไปคำนวณผ่าน ตารางผ่อนบ้านกันดูครับ… 📍ดาวน์โหลดไฟล์ตารางผ่อนบ้านได้ที่นี่ คลิกเลย สนใจรับคำปรึกษารีไฟแนนซ์บ้าน คอนโดฯ สอบถามเข้ามาได้ที่นี่ คลิกเลย หรือ แอด Line :@lumpsumofficial

  เทส ธนสิทธิ์


  15 พฤษภาคม 2567

ฟรีแลนซ์ก็มีเงินบำนาญหลังเกษียณได้

เวลาเราได้ยินคำว่าเกษียณ… เชื่อว่าหลายๆคนก็คงนึกถึงการเก็บเงินเยอะๆ หรือเลือกที่จะลงทุนในธุรกิจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีดอกเบี้ย มีปันผลกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนั่นก็เป็นวิธีหนึ่งที่เรานิยมใช้สำหรับการวางแผนเกษียณ แต่ก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่อาจไม่ค่อยได้หยิบยกขึ้นมาพูดกันมากนัก อย่างการวางแผนเงินบำนาญเพื่อใช้หลังเกษียณ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีที่เราไม่ค่อยนึกถึงกันเท่าไหร่ เพราะเวลาพูดถึงเงินบำนาญเรามักจะนึกถึงคนที่เป็นข้าราชการ แต่จริงๆแล้วในปัจจุบันสำหรับคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน คุณก็มีบำนาญเช่นกันจากเงินส่วนของประกันสังคม สำหรับคนที่เป็นฟรีแลนซ์ ทำอาชีพอิสระ ผมเชื่อว่าแทบจะนึกไม่ออกว่าเราจะมีบำนาญได้ยังไง วันนี้ผมเลยอยากชวนวางแผนบำนาญสำหรับคนที่ เป็นฟรีแลนซ์ ทำอาชีพอิสระ กันครับ ถ้าคุณลองค้นหาดู หรือถามเพื่อนๆ คุณอาจจะได้ไอเดียหนึ่งอย่างการทำประกันบำนาญ ซึ่งนั่นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ แต่สำหรับคนที่ไม่ใช่มนุษย์เงินดือน นอกจากประกันบำนาญแล้ว เรายังมีสิทธิมีบำนาญอีกรูปแบบหนึ่งจากการออมผ่านกองทุนที่ชื่อว่า “กองทุนการออมแห่งชาติ” หรือ กอช. ความน่าสนใจของกองทุนนี้ คือ เมื่อออมเงินเข้าไปแล้ว จะมีส่วนผลตอบแทนจากเงินออมของเราคล้ายประกันบำนาญ แต่จะพิเศษกว่าตรงที่ กอช. ยังมีส่วนเพิ่มที่รัฐจะสมทบเข้ามาให้เราอีกด้วย นั่นหมายความว่า เงินที่เราจะใช้หลังเกษียณเราไม่จำเป็นต้องเก็บเอง 100% แต่รัฐจะเข้ามาช่วยเราเก็บด้วยอีกส่วนหนึ่งนั่นเอง กองทุนนี้เหมาะกับใคร สำหรับกองทุน กอช. เป็นกองทุนการออมภาคสมัครใจ เพื่อสนันสนุนคนทำงานนอกระบบที่ไม่มีสวัสดิการการเกษียณรองรับ ดังนั้น คนที่ไม่ได้เป็นข้าราชการ ไม่ได้เป็นมนุษย์เงินเดือน และ ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ม.39 ม.40(2) - (3) ที่มีบำเหน็จบำนาญจากประกันสังคม จะสามารถออมผ่านกอช.ได้ตั้งแต่ อายุ 15 - 59 ปี นี้และก็จะมีเงินสมทบจากรัฐตลอดระยะเวลาการออมให้อีกด้วย จะได้เงินบำนาญเท่าไหร่ สำหรับเงินบำนาญที่จะได้จากกอช. จะคำนวณจาก จำนวนเงินที่ออม / ระยะเวลาที่ออม สามารถเอาข้อมูลจริงของตัวเองไปลองคำนวณผ่าน Web คำนวณบำนาญคลิก หรือ App ของทางกอช. ได้เลยครับ ตัวอย่างเช่น อายุ 25 ปี ออมได้เดือนละ 2,000 บาท (ออมได้ไม่เกิน 2,500 บาท) หลังเกษียณจะได้รับบำนาญอยู่ที่เดือนละ 6,630 บาท นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณตามจำนวนเงินที่ต้องการได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น อายุ 25 ปี หลังเกษียณอยากได้รับบำนาญเดือนละ 8,000 บาท เท่ากับว่าต้องออมทุกเดือนต่อเนื่อง เดือนละ 2,445 บาทนั่นเอง จะได้ใช้เงินเมื่อไหร่ สำหรับการจ่ายบำนาญของกอช. จะเริ่มจ่ายเมื่ออายุ 60 ปี และจะได้รับบำนาญไปตลอดชีพ กองทุนกอช. อาจจะมีข้อจำจัดเรื่องระยะเวลาและจำนวนเงินที่อาจจะมีเพดานไม่ได้สูงมาก แต่ผมว่าน่าจะเป็นอีกหนึ่งไอเดียที่จะช่วยให้คนที่เป็นฟรีแลนซ์ ทำอาชีพอิสระ มีโอกาสที่จะได้มีบำนาญใช้หลังเกษียณ แม้อาจจะไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายของหลายๆคนได้ทั้งหมด แต่ผมคิดว่าอย่างน้อยก็น่าจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายและทำให้การวางแผนเก็บเงินเพื่อใช้หลังเกษียณของคุณเหนื่อยน้อยลงได้ เริ่มต้นวางแผนวันนี้เพื่อสุขภาพการเงินที่ดี คลิกเลย หรือ line: @lumpsumofficial

  เทส ธนสิทธิ์


  07 พฤษภาคม 2567

รู้ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน มีข้อดีอย่างไรบ้าง?

โดยปกติแล้วคนวัยทำงานที่มีหน้าที่การงาน เงินเดือนมั่นคง และมีเงินเก็บก้อนใหญ่ ก็คิดฝันที่จะซื้อบ้านสักหลัง แต่ในความเป็นจริงแล้ว การซื้อบ้านนั้นมาพร้อมกับภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยเฉพาะดอกเบี้ยหลังจากช่วง 3 ปีแรกที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งพอมาถึงจุดนี้หลายคนเลือกที่จะทำเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อผลลัพธ์ในแง่บวกที่จะเกิดขึ้นกับผู้ขอสินเชื่อเงินกู้ในอนาคต ดังนั้น ในบทความชิ้นนี้เราจะมาเรียนรู้ไปพร้อมกันว่า เพราะเหตุใดการรีไฟแนนซ์บ้าน จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และมีข้อดีอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว เราไปติดตามรายละเอียดกันเลย ลดดอกเบี้ย ข้อดีประการแรกของการรีไฟแนนซ์บ้านที่เห็นได้ชัด คือช่วยลดดอกเบี้ยให้ต่ำลง เพราะเมื่อผ่อนบ้านไปสักระยะจากเดิมดอกเบี้ยอยู่ที่ 3% หลังผ่านปีที่ 3 ไปดอกเบี้ยอาจจะขยับเป็น 4 - 6% ได้เช่นกัน ซึ่งการรีไฟแนนซ์บ้านจะช่วยให้ผู้ขอสินเชื่อเงินกู้ สามารถผ่อนชำระต่อเดือนในอัตราดอกเบี้ยที่น้อยลง บางธนาคารอาจลดดอกเบี้ยเหลือเพียง 2.75% หรือต่ำกว่านั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายในช่วงนั้นของแต่ละธนาคาร ลดระยะเวลาผ่อนชำระ ข้อดีประการต่อมาของการรีไฟแนนซ์บ้าน คือเมื่อลดดอกเบี้ยแล้ว ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการผ่อนชำระบ้านได้อีกด้วย โดยผู้ขอสินเชื่อเงินกู้จะต้องเลือกระยะเวลาผ่อนชำระที่น้อยลง ในขณะเดียวกันจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น หนี้ผ่อนชำระค่าบ้านของเราจึงหมดไวมากขึ้น ลดรายจ่ายในแต่ละเดือน จุดประสงค์หนึ่งของการรีไฟแนนซ์บ้าน คือ ผู้ขอสินเชื่อเงินกู้ต้องการสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้น วิธีดังกล่าวจึงเป็นตัวเลือกที่จะช่วยการลดค่าใช้จ่ายได้พอสมควร ตัวอย่างเช่น ปกติเราทำการผ่อนชำระบ้านเดือนละ 20,000 บาท เมื่อทำการรีไฟแนนซ์บ้านแล้ว จะสามารถลดยอดผ่อนชำระได้อยู่ที่ประมาณ 16,000 บาท ทั้งนี้ การคิดคำนวณจำนวนเงินที่เจ้าของบ้านจะต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือน เป็นการตกลงกันระหว่างผู้กู้สินเชื่อและธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป สรุป ข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้านที่เห็นได้ชัดคือ ช่วยลดดอกเบี้ย ลดระยะเวลาผ่อนชำระ และลดรายจ่ายในแต่ละเดือน อย่างไรก็ตาม ผู้ขอสินเชื่อเงินกู้ควรศึกษารายละเอียดแต่ละธนาคารก่อนตัดสินใจดำเนินการ เพื่อให้เราได้อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลา และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือนที่เหมาะสมกับสภาพการเงินในปัจจุบัน ปรึกษาเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน พร้อมรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จาก Lumpsum ได้แล้ววันนี้ที่เว็บไซต์ www.lumpsum.in.th และที่แอปพลิเคชัน Lumpsum บนระบบ IOS และ Android แล้วเรื่องการเงินจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ สนใจรับคำปรึกษารีไฟแนนซ์บ้าน คอนโดฯ สอบถามเข้ามาได้ที่นี่ คลิกเลย หรือ แอด Line https://page.line.me/lumpsumofficial

  Lumpsum .


  10 เมษายน 2567

รวมโปรฯ รีไฟแนนซ์ ประจำเดือนมีนาคม 2567

ธนาคารเกียรตินาคิน ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 3.30% โปรโมชันพิเศษ ได้แก่ ฟรีค่าประเมิน , ค่าจดจำนอง , ค่าอากรแสตมป์ , ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 3.39%โปรโมชันพิเศษ ได้แก่ ฟรีค่าประเมิน , ฟรีค่าอากรแสตมป์ , ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย 3 ปีแรก ธนาคารไทยพาณิชย์ ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 3.42%โปรโมชันพิเศษ ได้แก่ ฟรีค่าธรรมเนียมขอสินเชื่อ ธนาคารออมสิน ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 3.40%โปรโมชันพิเศษ ได้แก่ 6 เดือนแรกปลอดชำระ , ฟรีค่าประเมิน ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์ ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 3.49%โปรโมชันพิเศษ ได้แก่ ฟรีค่าจดจำนอง (สูงสุด 200,000 บ.) ฟรีค่าประเมิน , ค่าประกันอัคคีภัย ธนาคารกรุงเทพ ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 3.57% ธนาคารทหารไทยธนชาติ ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 3.60%โปรโมชันพิเศษ ได้แก่ ฟรีค่าประเมิน , ฟรีประกันอัคคีภัย ธนาคารกรุงไทย ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 3.60% ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 3.85%โปรโมชันพิเศษ ได้แก่ ฟรีค่าประเมิน , ฟรีค่าจดจำนอง (สูงสุด 200,000 บ.) ธนาคารไทยเครดิต ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 4.15%โปรโมชันพิเศษ ได้แก่ ฟรีค่าประเมิน , กู้เอนกประสงค์เพิ่มได้ ดอกเบี้ย 3 เดือนแรก 0% ต่อปี ธนาคารยูโอบี ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 4.60%โปรโมชันพิเศษ ได้แก่ ฟรีค่าประเมิน , ฟรีค่าอากรแสตมป์ , ค่าประกันอัคคีภัย 3 ปีแรก สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับ Lumpsum สมัครครั้งเดียวยื่นได้หลายธนาคาร **ข้อมูลอัปเดทล่าสุดวันที่ 5 มีนาคม 2567**

  ธนากร นวมรัตน์


  06 มีนาคม 2567

ผ่อนบ้านยังไง เลี่ยงปัญหา แถมมีเงินเก็บเพิ่ม

บ้านหลายหลังกำลังเสี่ยงจะถูกยึด หลายคนกำลังเกิดปัญหาผ่อนไม่ไหว… ผมนึกถึงหนึ่งความเชื่อที่เราหลายๆคน ถูกปลูกฝังกันมากันตั้งแต่เด็กๆ “ไม่มีหนี้ดีที่สุด” ซึ่งมันก็ดูเป็นความจริงที่ เมื่อคุณไม่มีภาระ มันก็ง่ายต่อการใช้ชีวิต แต่ก็ต้องยอมรับว่า เราคงเอาคำนี้ไปตัดสินทุกคนไม่ได้ เพราะเราต่างมีเป้าหมาย มีความจำเป็นของแต่ละคนก็ต่างกัน และแน่นอนว่า หนึ่งเป้าหมายลำดับต้นๆของหลายคน ก็ยังคงเป็นเรื่องบ้าน จะให้เก็บเงินซื้อสด เพื่อหวังว่าจะไม่เป็นหนี้ ก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย หรือจะอยากจะทำจริงๆ หลายคนก็คงเก็บกันจนเกือบเกษียณถึงจะได้สักหลัง เมื่อถึงจุดนี้ ก็คงเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องใช้สินเชื่อ แต่จะให้ผ่อนๆ ไปเรื่อยๆ ยาวๆ 20-30 ปี พอมาคำนวณดูแล้ว แทบจะได้บ้านอีกหนึ่งหลังหรือสำหรับคนเลือกผ่อนต่ำ ดอกเบี้ยจ่ายอาจจะแทบได้บ้านเพิ่มเกินหนึ่งหลังเลยด้วยซ้ำ ประกอบกับด้วยความเชื่อ “ไม่มีหนี้ดีที่สุด” ทั้งหมดนี้เลยส่งต่อวิธีคิดและนำไปสู่วิธีการจัดการที่ทำให้หลายๆคนเกิดปัญหาเรื่องเงินตามมา แต่เมื่อเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมีความจำเป็น มีความฝันที่อยากมีบ้านสักหลัง เราจะสามารถทำยังไงได้บ้าง เพื่อให้สามารถผ่อนไหว ทำได้ตามแผนและก็ยังประหยัดดอกเบี้ยให้ได้เยอะที่สุด ที่สำคัญไม่เกิดปัญหาเรื่องเงินตามมา ไปหาคำตอบนี้กันดีกว่าครับ… “ประหยัดง่าย ทำได้เลย” เริ่มจากสิ่งที่เราสามารถลงมือทำได้เลยและไม่กระทบการเงินมากนัก ซึ่งมันมีผลดีต่อทั้งสภาพคล่องและการ “ประหยัดดอกเบี้ย” เรียกได้ว่า ทำน้อย ได้มาก ดอกเบี้ย 1-2% ถ้าเรามองจาก เงิน 100 บาท มันอาจจะดูไม่เยอะ แต่เมื่อมันถูกคำนวณในพื้นฐานจำนวนเงินที่มากขึ้นอย่างการซื้อบ้าน คุณจะเห็นว่ามันไม่น้อยเลยทีเดียว ที่สำคัญเราไม่ได้เสียกัน 1-2 ปี แต่เราผ่อนกันยาวๆ 20-30 ปี ซึ่งถ้าลองเอาดอกเบี้ยมารวมๆแล้ว คุณจะสามารถประหยัดเงินได้เพิ่มขึ้น และมีส่วนต่างที่จะเป็นเงินออมหรือจะเอามาโปะเพิ่มเป็นล้านเลยทีเดียว ซึ่งวิธีการจัดการกับดอกเบี้ย จะมีหลักๆด้วยกัน 2 วิธี 1.Retention หรือการขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ซึ่งข้อดี คือการที่คุณไม่ต้องเตรียมเอกสารใหม่ให้วุ่ยวาย ไม่มีค่าดำเนินการเพิ่มเติม แต่ข้อเสีย คือ ดอกเบี้ยอาจจะไม่ได้ประหยัดลงมาก 2.Refinance หรือพูดง่ายๆ คือการขอกู้เงินกับธนาคารใหม่มาปิดหนี้ธนาคารเดิม ซึ่งแน่นอนว่าหากธนาคารใหม่ อยากได้เงินดอกเบี้ยจากวงเงินกู้ของเรา เขาก็มักจะมีโปรโมชั่นดอกเบี้ยพิเศษ เพื่อมาดึงดูดให้เราไปกู้เงินกับเขานั่นเอง และนี่ก็คือข้อดี ที่จะทำให้คุณได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยที่จ่ายอยู่เดิม แต่มันก็มีข้อเสียอยู่หน่อย เพราะการย้ายไปกู้เงินกับธนาคารใหม่ มันก็คล้ายกับการที่คุณเริ่มกู้บ้าน คือต้องเตรียมเอกสาร หลักฐานต่างๆ และก็จะมีค่าดำเนินการต่างเช่นกัน แต่ปัจจุบันหลายๆธนาคารก็ออกโปรโมชั่นพิเศษสำหรับเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน ส่วนแบบไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน ตรงนี้อาจจะต้องลองคำนวณส่วนต่างของทั้ง2แบบครับ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น และเลือกธนาคารที่เหมาะสำหรับคุณมากขึ้น ซึ่งคุณสามารถเข้าไปปรึกษา Lumpsum ได้ที่ Refinance “อย่ากลัวหนี้ จนไม่มีสภาพคล่อง” สาเหตุสำคัญอันดับต้นๆของปัญหาหนี้ ไม่ได้เกิดจากการที่คุณเป็นหนี้ แต่เกิดจากไม่มีสภาพคล่อง อย่างช่วงที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ดอกเบี้ยนโยบายขึ้นต่อเนื่อง และแน่นอนว่าดอกเบี้ยบ้านก็กระทบเช่นกัน และมันก็เป็นเรื่องปกติที่เราไม่อยากจะต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มแบบฟรีๆ ซึ่งวิธีหนึ่งที่เราเหล่าคนผ่อนบ้านนิยมใช้กัน คือ การจ่ายเงินต่อเดือนให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เงินที่จ่ายเพิ่มไป ไปเข้าต้นมากขึ้นและหวังว่าเดือนถัดๆไป เราจะรับภาระจ่ายดอกเบี้ยที่ต่ำลง โดยการจ่ายเพิ่มหลักๆแล้วก็จะมี 2 วิธี 1.การทำค่างวดสูงขึ้น วิธีนี้ก็ง่าย ตัดทีเดียว ก้อนเดียว จบๆ 2.การโปะเพิ่ม วิธีนี้อาจจะวุ่นขึ้นมาหน่อย เพราะบางธนาคาร คุณอาจจะต้องจ่ายมาโปะอีกวัน บางธนาคารถ้าอยากโปะ ต้องไปจ่ายที่ธนาคาร แล้วแจ้งว่า โปะค่าบ้านเพิ่ม ไม่อย่างนั้น ยอดที่โปะเข้าไป จะไปตั้งรอตัดเดือนถัดไป ไม่ว่าคุณจะเลือกทางไหน มันเป็นทางออกที่ดีเลยครับ ในมิติเรื่องประหยัดดอกเบี้ย หากมองในเรื่องความสะดวก วิธีที่ 1 ก็ดูจะตอบโจทย์มากกว่า แต่ถ้าลึกลงในรายละเอียดและวิธีจัดการกับสภาพคล่อง เพื่อเลี่ยงปัญหาการเงินตามมา วิธีการที่ 1 อาจจะดูเสี่ยงไปสักหน่อย เพราะอะไร… เพราะการผ่อนบ้าน เราผ่อนกันยาวๆ 20 - 30 ปี และแน่นอนว่าระหว่างทางเราก็จะมีเป้าหมายหรือภาระเพิ่มเข้ามาระหว่างทางแน่นอน ดังนั้นแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหา แต่ไปถึงปลายทางเดียวกัน ผมว่าวิธีการโปะเพิ่มน่าจะเป็นทางออกที่ดีของหลายๆคน บทความนี้น่าจะได้ไอเดียไปปรับใช้กันพอสมควรนะครับ สำหรับคนที่ผ่อนบ้านอยู่หรือมีแผนมีความฝันอยากมีบ้านสักหลัง ก็ลองเอาไปปรับใช้ให้เหมาะสำหรับแผนของตัวเองกันดูครับ เพราะสุดท้ายมันไม่ได้มีวิธีตายตัวที่ดีที่สุด แค่คุณเอาไปปรับให้เหมาะกับชีวิตคุณก็น่าจะเพียงพอแล้ว เริ่มต้นวางแผนวันนี้เพื่อสุขภาพการเงินที่ดี คลิกเลย -->https://bit.ly/3nwPHbL หรือ line: @lumpsumofficial

  เทส ธนสิทธิ์


  04 มีนาคม 2567

เริ่มเก็บเงินก้อนแรกได้ จัดการยังไงต่อดี ?

"เงินเก็บก้อนแรก” อุตส่าเก็บมาได้ หลายๆคนก็คงอยากได้ผลตอบแทนดีๆ เอาไว้ที่มันงอกเงยที่สุด ยิ่งถ้าคุณเชื่อในพลัง ผลตอบแทนต้น ก็จะยิ่งเห็นว่า พลังของมันมหาศาลแค่ไหน... แต่ถ้าผมบอกว่า.. “เงินเก็บก้อนแรก ควรใส่ไว้ในบัญชีเงินฝาก” ละ หลายคนก็คงเกิดคำถามว่า บัญชีเงินฝากผลตอบแทนน้อยนิด ยังไม่ต้องพูดถึงผลตอบแทน แม้แต่เงินเฟ้อยังแพ้เลย ทำไมผมถึงเลือกแบบนี้… วันนี้จะมาเล่าให้ฟังครับ ย้อนไปเมื่อ 10 ปีก่อน ผมก็เป็นคนนึงครับที่อยากได้ผลตอบแทนดีๆ อยากได้กำไรมากๆ เหมือนหลายๆคนนั่นแหละ ก็เงินแต่ละบาทเราอุตส่าห์หามาและกั้นใจที่จะไม่ใช้ มันก็ควรได้ผลตอบแทนสมน้ำสมเนื้อสิ แต่ว่าสิ่งที่เราเรียนรู้มาหรือเราพยายามทำความเข้าใจ มันมักจะเป็นด้านเดียวของผลตอบแทน คือ กำไร และแน่นอนว่าเหรียญมันก็ยังมีสองด้านเสมอ ซึ่งการลงทุนก็คงไม่ต่างกัน เมื่อเราต้องการผลตอบแทนสูง ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูง แล้วก็นั่นละ ไม่รู้ว่าด้วยความโลภของผม หรือความซวยของตัวเอง มันก็เลยนำพาให้เงินที่อุดส่าห์หามา ขาดทุน!!! และเวลานั้น อย่าว่าได้ผลตอบแทนสูงๆเลย ได้เงินต้นกลับมาก็ดีเท่าไหร่แล้ว ถึงตรงนี้… หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่า ทำไมไม่ตัดขาดทุนตอนยังขาดทุนน้อยๆละ ? ใช่ครับ นั่นคือสิ่งที่ควรจะเป็นสำหรับการลงทุน แต่มันก็ขัดกับสัญชาตญาณมนุษย์ ว่าไหม… เราลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทน แต่จะมาขาดทุน ? ผมเชื่อว่าหลายๆคนทำได้ครับ แต่มันมีเงื่อนไขว่า คุณต้องเตรียมระบบมาดี มีจริตเป็นนักลงทุน หรือ มีความรู้มากพอ พูดง่าย แต่ทำจริงมันก็คงไม่ง่ายเท่าไหร่ สำหรับหลายๆคน รวมถึงผมด้วยในตอนนั้น และผมก็นึกถึงคำปลอบใจที่ติดตลก “ไม่ขาย ไม่ขาดทุน” ซึ่งนั่นก็จริงครับ แต่มันก็มีเงื่อนไขอยู่ ว่า มันจะใช้ได้กับสินทรัพย์การลงทุนที่พื้นฐานดี ยังมีอนาคต ที่ตลกร้ายกว่า มันทำได้ แต่ไม่ใช่สำหรับทุกๆคน “ เพราะเวลาของเราไม่เท่ากัน ” ถ้าคุณอ่านถึงตรงนี้ คงน่าจะพอเห็นภาพเรื่องตลกๆของผม หรือหลายคนก็คงกำลังยิ้มมุมปาก…ว่าเราเป็นเพื่อนกัน ซึ่งนี่ก็เลยวนมาตอบประโยคที่ผมบอกไปข้างต้นว่า “เงินเก็บก้อนแรก ควรใส่ไว้ในบัญชีเงินฝากก่อน” แล้วให้คุณตอนคำถามนี้ครับ 1.ถ้าเงินก้อนนี้ลงทุนที่เสี่ยงสูง หากขาดทุนอยู่ มีเงินใช้ในเวลาฉุกเฉินหรือเปล่า ? มันมีโอกาสที่หลายๆคน พอเริ่มเก็บเงินได้ เราก็อยากเอาเงินเก็บเกือบทั้งหมดไปเสี่ยงลงทุน เพื่อชนะเงินเฟ้อ เพื่อคาดหวังผลตอบแทน 10%-15% แต่พอมีเรื่องฉุกเฉินเข้ามา กลับต้องไปใช้สินเชื่อบุคคล 20% 2.ใช้เงินก้อนนี้เมื่อไหร่ ? เงินเก็บก้อนแรก มันมีแนวโน้มที่คุณจะใช้ไว เพราะเรามีเงินเก็บก้อนเดียว มันมีโอกาสว่ามันจะถูกใช้ไปกับเป้าหมายระยะสั้น ซึ่งมันก็ไม่ผิดนะครับ แต่ถ้าคุณรู้ว่ามันจะใช้เมื่อไหร่ คุณจะเอาเงินก้อนนี้ไปเก็บไว้ถูกที่ ถ้าบอกเงินก้อนนี้ ใช้ส่งลูกเรียน อีก 3 ปี แบบนี้ มันก็ไม่ควรเสี่ยง แต่ถ้าบอกว่าตั้งใจแล้ว แบ่งส่วนนี้เพื่อเกษียณ แบบนี้ คุณก็เสี่ยงสูงขึ้นได้ หรือ สามารถเลือกใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย หวังว่า เรื่องตลกปนน้ำตาของผม น่าจะทำให้หลายๆคนเห็นภาพมากขึ้น ใครที่ยังไม่โดน ก็ปรับแผนรับมือทัน ใครที่ยังไม่เริ่ม ก็น่าจะเห็นมุมมองอีกมุมครับ เริ่มต้นวางแผนวันนี้เพื่อสุขภาพการเงินที่ดี คลิกเลย -->https://bit.ly/3nwPHbL หรือ line: @lumpsumofficial #วางแผนการเงิน#รายได้#ออมเงิน#เก็บเงิน#การเงิน#เป้าหมายการเงิน#Lumpsum#ที่ปรึกษาทางการเงิน

  เทส ธนสิทธิ์


  20 กุมภาพันธ์ 2567

เป้าหมายการเงิน จำเป็นต้องมีจริงไหม ?

ทำงาน หาเงิน ใช้เงิน ไม่พอหรอ ? ทำไมต้องมีเป้าหมายการเงิน แล้วเป้าหมายการเงินที่ใช่เป็นยังไง…จำเป็นต้องมีจริงไหม ? หลายครั้งที่ผมชวนทุกคน วางแผน วางเป้าหมายการเงินกันในช่วงสิ้นปีไปจนถึงต้นปีใหม่ของอีกปี ซึ่งมันน่าจะช่วยให้หลายๆคนเห็นทิศทาง เห็นเป้าหมายของตัวเองชัดขึ้น เพื่อเลือกที่จะทำสิ่งที่มันสอดคล้องและเลือกไม่ทำสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับเส้นทางที่เราจะไป แต่ไม่นานนี้ผมก็ได้เจอกับคำถาม คำถามนึง “ทำงาน หาเงิน ใช้เงิน แค่นี้ก็เหนื่อยแล้ว … เราต้องมานั่งตั้งเป้าหมายการเงินอีกหรอ เป้าหมายการเงินจำเป็นจะต้องมีจริงไหม?” ผมว่าเป็นมุมกลับที่น่าคิดดีครับ เลยอยากชวนทุกคนมาหาคำตอบนี้กัน ก่อนอื่น อยากชวนมานั่งคิดๆ กันก่อน ว่าคุณนิยามคำว่า “เป้าหมายการเงิน” กันยังไงบ้าง . ลองหยุดคิดสัก 5 วิ !!! . ผมว่ามันก็น่าจะมีคำตอบหลากหลายพอควร แต่ในหลายๆคำตอบ ที่ผมได้ฟังมาจากหลายคน นิยามมันดูจะเป็นนิยามใหญ่ๆ ยากๆ ไกลๆ อย่างเช่น -เป้าหมาย เก็บเงิน 1 ล้านบาทแรก -ฉันจะต้องมีเงินเก็บ 10 ล้าน ใน 10 ปี -เราต้องเก็บเงินเกษียณ เมื่อเรามีภาพกับคำว่าเป้าหมายการเงินที่มันดูใหญ่ ดูยาก หลายครั้งเราก็รู้สึกเหนื่อยที่จะทำ และล้มเลิกเมื่อหมดพลังใจ ซึ่งคำตอบเหล่านี้ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ แต่เพียงแค่ เป้าหมายการเงิน ไม่ใช่เรื่องใหญ่ จำนวนเงินเยอะ หรือ ระยะเวลานาน เพียงอย่างเดียว !! ถ้าผมลองปรับคำใหม่ละ ? “เป้าหมายการใช้เงิน” พอจะเห็นภาพขึ้นไหมครับ ว่าจริงๆแล้ว เป้าหมายการเงิน มันคือทุกเรื่องเลยครับ ที่คุณจะต้องใช้เงิน ตั้งแต่จะใช้เงินยังไงให้เหลือเงินเก็บต่อเดือนบ้าง จะเปลี่ยนมือถือเครื่องใหม่จะผ่อนไหวไหม มันคือ ทุกเรื่องเลยครับที่ต้องใช้เงิน เมื่อมาถึงตรงนี้… แล้วการใช้จ่ายปกติ อยากได้ก็ซื้อ อยากใช้ก็รูด ก็น่าจะเพียงพอแล้ว จำเป็นต้องมาเขียนเป็นเป้าหมายการเงิน ทำไมให้วุ่นวาย ? ลองไปดูเหตุผล 3ข้อนี้กันครับ 1.เมื่อความอยากเราหลากหลาย แต่มีเงินจำกัด คุณจะเลือกทำอะไรหรือไม่ทำอะไรได้ง่ายขึ้น บางครั้งพอเราไม่เห็นมันเป็นเป้าหมาย เราไม่โฟกัส หลายๆอย่างไปบู้เอาข้างหน้า มันก็ทำให้เราจัดลำดับความสำคัญผิด อย่างบางเคสอาจจะอยากซื้อรถปีนี้ แต่อีก 2 ปี ต้องส่งลูกเรียน พอไปบู้เอาข้างหน้ากลายเป็นว่ารถก็ผ่อนตึงมือ ความฝันที่อยากส่งลูกเรียนโรงเรียนดีๆ ก็ต้องลดคุณภาพลง 2.เลือกใช้เครื่องมือที่ถูก และกังวลลดลง ถ้าคุณมีแพลนจะเรียนต่อใน 1 ปีข้างหน้า การเอาเงินไปเก็บที่ที่เสี่ยงสูง เพื่อความหวังผลตอบแทนสูง อาจเป็นสิ่งที่ไม่น่าสนุกเท่าไหร่ เพราะถ้าเจอช่วงตลาดไม่ดี นอกจากผลตอบแทนจะไม่ได้แล้ว ยังต้องมากังวลว่าจะหาเงินต้นที่ไหนมาใส่ เพื่อให้มีพอใช้สำหรับเรียนต่ออีก แต่ถ้าเป้าหมายใช้เงินก้อนนี้คืออีกนาน เอาไปใส่ใน SSF / RMF ได้นิ ประหยัดภาษีด้วย หรือ เจอช่วงตลาดไม่ดี เป้าหมายนี้ยังมีเวลา ช่วงนี้ตลาดลงมาแย่มากแล้ว ถ้าพื้นฐานยังเยี่ยม กองเราเลือกยังดี เดี๋ยวมันก็มีโอกาสกลับมา 3.ลดปัญหาเรื่องเงิน การเอาสิ่งที่อยากได้อยากทำมาเขียนเป้าหมายและทำแผน คุณจะเห็นภาพตัวเองล่วงหน้าแบบไม่เข้าข้างตัวเองได้เลย ว่าถ้าซื้อของชิ้นนี้ จ่ายได้(จริงๆ) ไหม เสี่ยงเงินไม่พอใช้หรือเปล่า หรือถ้าต้องซื้อจริงๆ คุณจะทำยังไงต่อดี ต้องหารายได้เพิ่มไหม ต้องเลือกทำเป้าหมายไหนก่อน ซึ่งจากที่ผมเล่ามา มันก็นำมาสู่คำตอบว่า ถ้าคุณมีทุกอย่างแล้ว ไม่มีแพลนต้องใช้เงิน ไม่มีของที่อยากได้ การกำหนดเป้าหมายการเงินคงไม่จำเป็น แต่ถ้ายังมีสิ่งของที่อยากซื้อ มีคนต้องดูแล ทั้งคนข้างหลัง รวมถึงตัวเอง เนี่ย ผมว่าการที่คุณมีเป้าหมายการใช้เงินน่าจะยังจำเป็น แล้วเป้าหมายการเงินของคุณละหน้าตาเป็นยังไง… แจกฟรี! ไฟล์คำนวณเป้าหมายการเงิน เพียงแอดไลน์ @lumpsumofficial หรือ https://page.line.me/lumpsumofficial แล้วพิมพ์คำว่า เป้าหมายการเงิน2024 #วางแผนการเงิน#รายได้#ออมเงิน#เก็บเงิน#การเงิน#เป้าหมายการเงิน#Lumpsum#ที่ปรึกษาทางการเงิน

  เทส ธนสิทธิ์


  19 กุมภาพันธ์ 2567

Loading...

ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม