ไม่มีรายการ

บริหารเงินเก็บอย่างไร? ให้เงินงอกเงย....
07 พฤษภาคม 2563
มามา เร่เข้ามา มาตั้งวงกันพวกเธอ
วงนี้ไม่เม้ามอย นินทาเรื่องชาวบ้านนะจ๊ะ
อ้าว! งั้นแยกย้าย
เดี๋ยววววววววว ใจเย็น นินทาชาวบ้านเก็บไว้ตอนท้าย
เอ้ย! ล้อเล่น ไม่เอาดิ นินทาชาวบ้านมันไม่ดี มันบาปนะรู้มั้ย (สาบาน 55+)
ไหน ๆ เอาการบ้านมาส่ง จดบันทึกรับจ่าย มีเงินเก็บเพิ่มบ้างมั้ย?
ลองตามไปอ่านดู : งบการเงินส่วนบุคคล ทำเป็นเห็นทางรวย
นี่จ้า ชั้นเก็บได้เพิ่มตั้งหลายร้อย
ชั้นด้วย เป็นพัน ชั้นชนะ
ดีมาก อย่าสวยอย่างเดียว ต้องรวยด้วย
รู้มั้ย? ว่าเก็บเงินไว้อย่างเดียวไม่รวยนะ แถมจนอีกลงอีกต่างหาก
อ้าว! แล้วให้พวกชั้นเก็บเงินทำไม
ยิ่งเก็บเงินก็ยิ่งเพิ่ม ยิ่งรวยซิ มันจะจนลงได้ยังไง บ้าป่าว
ก็ใช่ เงินน่ะ ยิ่งเก็บก็ยิ่งเพิ่ม
จำนวนเงินที่เป็นตัวเลขเพิ่มก็จริง
เราไม่ได้กินเงินแล้วอิ่ม แต่เราเอาเงินไปซื้อของกินให้อิ่มท้อง ซื้อของใช้ให้อิ่มใจ เปย์ผู้ชายให้อิ่ม...
เอ้ย! ไม่ใช่ละ 55+
10 ปีก่อน ผัดกะเพราจ่ายละ 30 บาท แต่ตอนนี้ 40 บาท
ของกินของใช้อย่างอื่นก็ขึ้นราคาหมด
เงินเดือนพวกเธอก็ขึ้นใช่มะ (ขึ้นนิดเดียว ^^”)
ของแพงขึ้นนี่แหละที่เรียกกันว่า “เงินเฟ้อ”
คือเงินเท่าเดิม แต่ซื้อของได้น้อยลง
100 บาทวันนี้ซื้อของได้น้อยกว่า 100 บาท เมื่อ 10 ปีก่อน
อีก 10 ปีข้างหน้า 100 บาท ก็ย่อมซื้อของได้น้อยลงกว่าตอนนี้แน่นอน
ฉะนั้น เงินเก็บจึงไม่ควรเก็บไว้เฉย ๆ ให้ปลวกแทะ
ปลวกที่มาในคราบของ “เงินเฟ้อ” นั่นเอง
เราจะต้องนำเงินเก็บไปลงทุนเพิ่มให้งอกเงย
ไม่เอาหรอก ลงทงลงทุนอะไร เดี๋ยวเจ๊ง เงินหายหมด
ใจเย็น ๆ พวกเธอติดภาพการลงทุนว่ามันเสี่ยงใช่มะ
ทุกคนฝากเงินกับธนาคารกันป่าว (พยักหน้างึกงัก)
เงินฝากออมทรัพย์ก็คือการลงทุน
ทุกอย่างที่ได้ผลตอบแทนคือการลงทุน
เพียงแต่ว่าเงินฝากออมทรัพย์มันเสี่ยงน้อยมาก แต่มันก็ได้ดอกเบี้ยต่ำมาก
ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็ต้องแลกเปลี่ยนกัน อยากได้เยอะก็ต้องเสี่ยงกันหน่อย
ในทางทฤษฎี เงินเฟ้ออ่อน ๆ ประมาณ 2% ต่อปี เป็นตัวเลขที่กำลังดี เศรษฐกิจขยายตัวดี ไม่หวือหวาหรือต่ำเกินไป
ฉะนั้น พวกเธอต้องนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนชนะ หรืออย่างน้อยต้องเท่ากับเงินเฟ้อ นั่นคือ 2% ขึ้นไป
แล้วลงทุนอะไรได้บ้าง? ที่จะได้ผลตอบแทน 2% ขึ้นไป โดยที่เงินเก็บไม่หาย
ไม่นานมานี้ Thailand Investment Forum เค้าได้รวบรวบผลตอบแทนในการลงทุนสินทรัพย์ต่าง ๆ
การลงทุนทุกอย่างในตาราง หากดูตั้งแต่เริ่มมีข้อมูลล้วนให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ 2%
ส่วนย้อนหลัง 5 ปี ส่วนใหญ่ก็ชนะเงินเฟ้อเช่นกัน
แต่ที่น่าสนใจก็คือ การลงทุนตราสารหนี้ ผลตอบแทน 3-4% น่าสนใจไม่ใช่น้อยเลย
โดยเฉพาะตราสารหนี้ภาครัฐ หรือพันธบัตรรัฐบาล ที่ความเสี่ยงเป็นศูนย์ เสี่ยงน้อยกว่าเงินฝากออมทรัพย์อีกนะ (ในทางทฤษฎีนะจ๊ะ)
ชั้นจะลงทุนตราสารหนี้ได้ที่ไหน อย่างไรละเธอ? ไปซื้อที่แบงก์ได้มะ
ไม่ได้จ้า เราลงทุนพันธบัตรโดยตรงไม่ได้ ที่จริงก็ได้นะ แต่เธอมีเงินระดับพันล้านหมื่นล้านไปประมูลพันธบัตรรึเปล่าละ
เราสามารถลงทุนพันธบัตรผ่านกองทุนรวมได้
ไปเปิดบัญชีซื้อขายกองทุน คล้าย ๆ เปิดบัญชีออมทรัพย์นั่นแหละ
รายละเอียดมันจะเยอะนิดนึง เดี๋ยวไว้คุยกันหลังไมค์เนอะ
ถ้าเธออยากได้ผลตอบแทนสูงกว่านี้ก็ไปเลือกสินทรัพย์อื่น อย่างทองคำ หุ้น ที่ดิน
แต่ความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้น บางอย่างก็จะมีเงื่อนไขเพิ่มอีกนิด เช่น สภาพคล่องการซื้อขายต่ำ ในพวกบ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม เป็นต้น
ไม่พูดเยอะ เจ็บคอ (ชั้นรีบ มีนัดอิอิ)
สรุปเลยละกัน
1. เงินเก็บอย่าเก็บไว้เฉย ๆ มูลค่าจะลดลง ซึ่งเป็นผลจากเงินเฟ้อ
2. ต้องนำไปลงทุนให้งอกเงย อย่างน้อยต้องชนะเงินเฟ้อ
3. ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงก็จะสูงตามไปด้วย (High risk high return)
4. เลือกการลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง ว่ายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน
เราจะรวยไปด้วยกันจ้า ^^