ไม่มีรายการ

จะทำอย่างไรเมื่อ....เป็นหนี้แล้วถูกฟ้องศาล
24 พฤศจิกายน 2563
เมื่อหมายศาลมาก็แอบ ต๊กกระใจ คล้ายจะหน้ามืดเป็นลม ร้อนรนกันใหญ่ มือไม้สั่นระรัว..... เอาล่ะหว่าทำไงดี จริงๆแล้วมันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
ก่อนอื่นต้องขอให้เครดิตหนังสือปลดหนี้ทำไง ของคุณศุภศักดิ์ เงาประเสริฐวงศ์ นะคะที่ได้เขียนข้อมูลทุกอย่างที่มีประโยชน์มากๆ และวันนี้ได้หยิบยกหัวข้อที่น่าสนใจมาหนึ่งหัวข้อ นั่นก็คือ จะทำอย่างไรเมื่อเราถูกฟ้องศาล เพราะหลายๆคนเลยที่ไม่รู้ว่าขั้นตอนจะเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไร และทำแบบไหนถึงจะได้ประโยชน์แบบสูงที่สุด
เมื่อมีหนี้แล้วเราไม่สามารถที่จะจ่ายหรือตกลงประนอมหนี้กันได้ จะ hair cut เจ้าหนี้ก็ไม่เอาไม่มีทางเลือกอื่นแล้วนอกจาก พึ่งศาลกันอย่างเดียว สิ่งที่สำคัญที่ลูกหนี้ (บัตรเครดิต) ต้องรู้ก็คือ นับตั้งแต่วันแรกที่เราเบี้ยวไม่จ่าย
เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องร้องภายในระยะเวลา 2 ปี
ลูกหนี้บัตรเครดิตทั้งหลาย เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องร้องเรา (โดยมีอายุความสองปี) หากเลยจากนี้จะฟ้องก็ยังฟ้องได้อยู่ แต่ก็มีโอกาสยกฟ้องสูง เพราะคดีหมดอายุความไปแล้ว ฉะนั้นก่อนจะหยุดจ่าย จดจำวันสุดท้ายหรืองวดสุดท้ายที่เราจ่ายออกไปให้ดี เพราะหากฟ้องร้องคดีหมดอายุความแล้ว ใช้ประเด็นนี้ตั้งต้นก่อนเลยนะคะว่า เป็นหนี้แล้วถูกฟ้อง มันเป็น “คดีแพ่ง...ไม่ใช่คดีอาญา” คดีแพ่งไม่มีติดคุก สบายใจตรงนี้ก่อนได้จ้า และเมื่อเรื่องถึงศาลแล้ว ดอกเบี้ยหลุดโจทก์(เจ้าหนี้)จะคิดต่อไม่ได้
เมื่อหมายศาลมาถึงบ้าน
• สิ่งที่ควรทำคือ ต้องไปศาล อย่านิ่งเฉย หากนิ่งเฉยศาลจะตัดสินคดีไปตามคำฟ้องที่ฝ่ายเจ้าหนี้ยื่นศาลมาทั้งหมด เขียนดอกเบี้ยปรับเท่าไหร่ เราก็จ่ายเท่านั้น เหมือนเรายอมจำนน โดยไม่ได้แย้ง เพราะถ้าจำเลย(เรา) ไม่ไปศาล ศาลจะตัดสิทธิ์จำเลย ยกผลประโยชน์ให้โจทก์(เจ้าหนี้) เพราะจำเลยเพิกเฉยหมายศาล ถ้าเราไม่ไปศาลจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบทันทีค่ะ
• ตรวจเช็คหมายศาล ตรวจสอบสำนวนที่โจทก์ (เจ้าหนี้)ฟ้องว่า
- เค้าฟ้องอะไร
- คดีหมดอายุความหรือยัง
- จำนวนเงินที่ฟ้องว่ายอดเท่าไหร่ ตรวจสอบยอดว่าตรงหรือไม่ โดยเฉพาะยอดเบี้ยปรับตรงในสัญญาหรือไม่
วันไปศาล
• มีทนายไปด้วยก็อุ่นใจไม่มีก็ลุยเดี่ยว
• บัตรประชาชน ถ้ามีผู้ค้ำต้องไป ด้วย หากผู้ค้ำไม่สะดวกก็มอบอำนาจให้เราทำแทน (สำเนาบัตรด้วย)
• ไปก่อนเวลา เพื่อตรวจว่าคดีเราอยู่ที่ห้องพิจารณาไหน ดูได้ที่ตารางนัด
• จ่ายค่าแต่งตั้งทนายที่ห้องการเงิน 20 บาท
• ไปที่ห้องแจ้งเจ้าหน้าที่สักหน่อยว่าเรามาแล้วเตรียมยื่นเอกสารคำให้การที่เตรียมมา ให้เจ้าหน้าที่หน้าบังลังก์ ขอเลื่อนนัดเป็นนัดหน้าได้ เนื่องจาก ไม่มีทนาย ทนายติดธุระ เหตุผลบลาๆ ก็ว่ากันไป ถ้าคิดจะสู้คดี
• ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะสู้ไหม ก็ลองคุยกับโจทก์ก่อน ถ้าได้ส่วนลดเป็นที่น่าพอใจก็จบ ถ้าจบตกลงกันได้ก็ไม่ต้องยื่นคำให้การเพื่อรอสืบคดี
• ศาลมักจะถามโจทก์ว่ามีข้อเสนออะไรดีๆไหม..? อาจจะมีข้อเสนอใหม่ๆที่ดีกว่าไกล่เกลี่ยตอนแรกก็ได้
• ถ้าเรายืนยันจะสู้คดีต่อ ก็จบ ศาลก็เลื่อนสืบพยานไปอีกไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ที่สำคัญเรายืนยันใจแข็งที่จะสู้ต่อหรือป่าว
• ไม่ควรแต่งกายหรู ให้แต่งกายดูสภาพเรียบร้อย
• ควรพูดข้อเท็จจริงให้ศาลเห็นใจ เช่น ตกงาน ต้องเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ ตามเหตุผลบนข้อเท็จจริง จากศาลในประเด็นที่เราร้องขอ
• ทนายฝั่งโจทก์ (เจ้าหนี้)เอาเอกสารมาให้เซ็น อย่าเพิ่งเซ็นง่ายๆ อ่านให้ครบ ละเอียด รอบคอบ อ่านหลายๆรอบ
• ถ้าจะขอสู้คดีต้องมีเหตุผลที่ดีพอและมีหลักฐาน เช่น เรื่องดอกเบี้ยที่คิดเกินจริง
• เพื่อความชัวร์จะเจรจาอะไรก็ควรเจรจาที่ห้องพิพากษา
ผลลัพธ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นเมื่อเราสู้คดี
1. ลูกหนี้ชนะ ไม่ต้องจ่าย (เป็นไปได้น้อย)
2. เจ้าหนี้ชนะ ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่ศาลสั่ง
3. เจ้าหนี้ชนะ ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ศาลสั่ง เจ้าหนี้ดำเนินการบังคับคดี ยึดทรัพย์ และอายัดเงินเดือน (อายุความ 10 ปี)
การมีหมายศาลมาที่บ้านอย่าเพิ่งตกอกตกใจนะคะ ทุกอย่างมีด้านดีเสมอ อย่างน้อยก็มีข้อดีที่ชัดเจนมากๆเลยคือการดึงเวลา อย่างน้อยเราก็ใช้เวลานั้นตั้งหลักก่อนค่ะ สู้ๆนะคะ
ที่มา: หนังสือปลดหนี้ ยังไง
หากคุณเบื่อเจ้าหนี้ตามทวง ตามจิก และต้องการหมดหนี้ แก้หนี้
สามารถยื่นสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการแก้หนี้ได้ที่นี่ >> สมัคร คลิก