ไม่มีรายการ

วิธีประหยัดค่าเดินทางในเมืองกรุง

How to วิธีประหยัดค่าเดินทางในเมืองกรุงฯ

12 กุมภาพันธ์ 2563


 กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ

กรุงเทพมหานคร ถูกจัดอันดับให้เป็นที่สุดของเมืองในด้านต่าง ๆ หลากหลายด้าน เช่น

- กรุงเทพมหานครยังเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก

- ปี 2019 การจัดอันดับของมาสเตอร์การ์ด ผ่าน Mastercard’s Global Destination Cities Index ปรากฏส่า กรุงเทพมหานครติดอันดับหนึ่ง 4 ปีซ้อน ตัวเลขนักท่องเที่ยวล่าสุดปี 2019 ที่ 22.78 ล้านคน

นอกจากจะติดอันดับในด้านที่ดีมากมาย โดยเฉพาะขึ้นชื่อเรื่องการท่องเที่ยวแล้ว กรุงเทพมหานครยังติดอันดับด้านที่ไม่ดีอีกหลายด้านเช่นกัน และหนึ่งในนั้นคือ ค่าเดินทางแพงติดอันดับโลก

รถไฟฟ้าถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหารถติด แต่ราคากลับแพงลิบเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทยแพงมากที่สุดในโลก คิดเป็น 13.2% ของค่าโดยสารเฉลี่ยต่อค่าแรงขั้นต่ำ

สอดคล้องกับงานวิจัยข้อมูลการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานครของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่พบว่า รถไฟฟ้ามีอัตราค่าใช้จ่ายมากที่สุดเฉลี่ย 2,500 บาท/เดือน

รองลงมาคือ รถตู้สาธารณะ เฉลี่ย 2,100 บาท/เดือน เรือคลองแสนแสบ เฉลี่ย 1,700 บาท/เดือน

รถเมล์ปรับอากาศ (รถเมล์แอร์) เฉลี่ย 1,400 บาท/เดือน

รถเมล์ธรรมดา (รถเมล์ร้อน) เฉลี่ย 1,200 บาท/เดือน

เรือด่วนเจ้าพระยา เฉลี่ย 1,200 บาท/เดือน

ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำในกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 325 บาท/วัน

หากคิดง่าย ๆ เดือนมี 30 วัน เท่ากับว่าจะมีรายได้ขั้นต่ำต่อเดือน 9,750 บาทหรือประมาณ 10,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น

ค่าเดินทางจึงเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

 

เราจะประหยัดค่าเดินทางได้อย่างไรบ้าง?

จะใช้รถไฟฟ้าหนีปัญหารถติดก็เจอค่าโดยสารแพง

จะนั่งรถเมล์เพื่อประหยัดก็เจอรถติด เบียดเสียด อากาศร้อน จนเสียสุขภาพกายและสุขภาพจิตเข้าทำนอง “หนีเสือปะจระเข้”

ในเมื่อหนีไปไหนไม่ได้ก็ต้องใช้ตัวช่วย

ตัวช่วยที่ว่าก็คือ ส่วนลดหรือโปรโมชั่นต่าง ๆ

 

- รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วง

ตัวอย่างโปรโมชั่นและส่วนลดของการเดินทางโดยใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หรือที่ติดปากกันว่ารถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ MRT)

 

ถ่ายเมื่อ 7 ก.พ. 2563

จากรูปข้างต้นคือตัวอย่างโปรโมชั่นและส่วนลดของการเดินทางโดยใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หรือที่ติดปากกันว่ารถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ MRT)

เหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องเดินทางไปกลับเป็นประจำในทุกวันที่ทำงาน

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง สามารถเข้าไปดูรายละเอียดส่วนลดเพิ่มเติมได้ที่นี่ "คลิก"

 

- รถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS)

ตัวอย่างโปรโมชั่นของรถไฟฟ้า BTS

รูปนี้เป็นตัวอย่างโปรโมชั่นของรถไฟฟ้า BTS ซึ่งเราสามารถเข้าไปดูโปรโมชั่นและส่วนลดเพิ่มเติมได้ที่นี่ "คลิก"


- รถเมล์

ค่าโดยสารปกติของรถเมล์

นอกจากตารางข้างต้นที่เป็นค่าโดยสารปกติของรถเมล์แล้ว ยังมีตั๋วโดยสารรายสัปดาห์และรายเดือน แต่จะขึ้นรถเมล์ได้เฉพาะของ ขสมก. เท่านั้น ไม่สามารถขึ้นรถเมล์ของเอกชนที่ร่วมให้บริการ

 ตั๋วโดยสารรายสัปดาห์และรายเดือน แต่จะขึ้นรถเมล์ได้เฉพาะของ ขสมก.

ก็ต้องลองเอาไปเปรียบเทียบดูว่า หากซื้อตั๋วรายสัปดาห์หรือรายเดือนจะคุ้มค่าหรือไม่ เพราะด้วยราคาต่อเที่ยวไม่ได้แพงมากนักเมื่อเทียบกับค่ารถไฟฟ้า แถมยังมีจุดด้อยตรงที่ขึ้นรถเมล์ได้เฉพาะของ ขสมก. เท่านั้น

 

- แท็กซี่

แท็กซี่ปกติไม่น่าจะมีส่วนลดหรือโปรโมชั่นอะไร แถมที่คุ้นเคยกันดีคือโบกยากเหลือเกิน

GRAB จึงเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ซึ่งมีโปรโมชั่นและส่วนลด นอกจากมีให้ในแอพแล้ว ยังสามารถหาซื้อส่วนลดเพิ่มจากแอพช้อปปิ้งออนไลน์อย่าง LAZADA SHOPEE เป็นต้น

แท็กซี่ปกติไม่น่าจะมีส่วนลดหรือโปรโมชั่นอะไร แถมที่คุ้นเคยกันดีคือโบกยากเหลือเกิน GRAB จึงเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ซึ่งมีโปรโมชั่นและส่วนลด นอกจากมีให้ในแอพแล้ว

ตัวอย่างส่วนลดที่สามารถซื้อได้เพิ่มเติม

ในวันที่รัฐสวัสดิการยังไม่ดีพอ เราก็ต้องดูแลตนเองกับภาระค่าเดินทางในเมืองกรุง โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ส่วนลดและโปรโมชั่นจึงเป็นทางเลือกที่น่าจะดีที่สุดในยามนี้ ที่พอจะช่วยประหยัดค่าเดินทางได้

แม้อาจจะประหยัดได้ไม่กี่บาท แต่ไม่กี่บาทนั่นก็คือเงิน ที่สามารถเก็บเล็กผสมน้อย กลายเป็นก้อนใหญ่ได้ อย่าได้ดูถูกเงินเล็กน้อยเชียวครับ ^^


อ้างอิง
1. http://www.skyscrapercenter.com/city/bangkok
2. https://newsroom.mastercard.com
3. http://www.bmta.co.th/th
4. https://www.mrta.co.th/th
5. https://www.bts.co.th/

บทความแนะนำล่าสุด


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ