ทุกคนที่มีรายได้ต้องมีหน้าที่เสียภาษี โดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย โดยอัตราการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กรมสรรพากรเรียกเก็บ มีรายละเอียดดังนี้

*** เงินได้สุทธิ คำนวณอย่างไร ?
เงินได้สุทธิ คือ เงินเดือนทั้งปี + เงินโบนัส - ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (50% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,00 บาท) - สิทธิลดหย่อนผู้มีเงินได้ (60,000 บาท) เช่น "ไมเคิล" เงินเดือน 30,000 บาท โบนัส 100,000 บาท เท่ากับ 360,000 + 100,000 = 460,000 บาท
เมื่อหักลบกับค่าใช้จ่ายส่วนตัวและสิทธิลดหย่อนผู้มีเงินได้เท่ากับ 460,000-100,000-60,000 = 300,000 บาท นั่นคือเงินได้สุทธิ ดังนั้นในกรณีนี้ "ไมเคิล" จะมีเงินได้สุทธิ 300,000 บาท เสียภาษี 5% หรือ 7,500 บาท
ขณะที่ "โรเบิร์ต" เงินเดือน 30,000 บาท ไม่มีโบนัส เงินได้สุทธิจะเท่ากับ 360,000 - 100,000 - 60,000 = 200,000 บาท ก็ยังเสียภาษี 5% แต่จะลดลงตามเงินได้สุทธิ กรณีนี้ "โรเบิร์ต" จะต้องเสียภาษี 2,500 บาท
ด้าน "เฮนรี่" เงินเดือน 100,000 บาท โบนัส 300,000 บาท เงินได้สุทธิจะเท่ากับ 1,200,000 - 300,000 = 1,500,000 บาท ลบค่าใช้จ่ายส่วนตัวและสิทธิลดหย่อนผู้มีเงินได้เท่ากับ 1,500,000 - 100,000 - 60,000 = 1,340,000 บาท เป็นเงินได้สุทธิ คำนวณตามฐานภาษีที่ 25% เท่ากับ "เฮนรี่" จะเสียภาษี 200,000 บาท
ตัวอย่างข้างต้นคำนวณโดยยังไม่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เลย มีเพียงสิทธิลดหย่อนผู้มีเงินได้ 60,000 บาท ซึ่งมักจะถูกคำนวณโดยอัตโนมัติรวมกับค่าใช้จ่ายส่วนตัวอยู่แล้ว
ดังนั้นหากใช้สิทธิลดหย่อนอื่น ๆ ประกอบด้วย สุดท้ายแล้วเราอาจจะไม่ต้องเสียภาษีเลยก็ได้
*** รายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง
ทีนี้มาดูกันว่าเราจะใช้สิทธิอะไรได้บ้างมาลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม ซึ่งมีสิทธิลดหย่อนภาษีมี 3 ประเภท
1. สิทธิลดหย่อนขั้นพื้นฐานของชีวิต
- สิทธิลดหย่อนผู้มีเงินได้ 60,000 บาท
- คู่สมรสที่ไม่มีรายได้ 60,000 บาท
- บุตร (ต่อคน) 30,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์-ค่าคลอดบุตร 60,000 บาท
- อุปการะบิดา-มารดา อายุ 60 ปีขึ้นไป (ต่อคน) 30,000 บาท
- อุปการะผู้พิการ-ทุพพลภาพ (ต่อคน) 60,000 บาท (ต้องเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฎหมาย)
- ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย 100,000 บาท
2. สิทธิลดหย่อนจากเงินออม-การลงทุน
- ประกันสังคม 9,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส (ไม่มีรายได้) 10,000 บาท (มีรายได้) 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดา-มารดา 15,000 บาท
- กองทุน LTF ไม่เกิน 15% ของเงินได้และไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุน RMF ไม่เกิน 15% ของเงินได้และไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ-กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ จ่ายตามจริงไม่เกิน 500,000 บาท
- เบี้ยประกันบำนาญ 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
3. สิทธิลดหย่อนเพื่อการบริจาคหรือการศึกษา
- เงินบริจาคไม่เกิน 10% ของเงินได้คงเหลือจากการลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
- เงินสนับสนุนการศึกษาลดได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินเงินได้คงเหลือจากการลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
*** คำนวณภาษีอย่างไร
1. นำรายได้ทั้งหมด - ค่าใช้จ่ายส่วนตัว - รายการลดหย่อน ยอดที่เหลือถึงจะเอาไปคำนวณภาษีตามฐาน เช่น
- "มิเกล" รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว เหลือ 500,000 บาท
มีสิทธิลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
คู่สมรส 60,000 บาท
ประกันสังคม 9,000 บาท
เลี้ยงดูมารดา 30,000 บาท
ซื้อ LTF ไป 60,000 บาท
จะได้สิทธิลดหย่อนรวม 60,000+60,000+9,000+30,000+60,000 = 219,000 บาท นำไปลบกับรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวเท่ากับ 500,000 - 219,000 = 281,000 บาท เป็นเงินได้สุทธิ
2. นำเงินได้สุทธิ 281,000 บาท เทียบอัตราภาษีจะเท่ากับ 5% แต่ตามการจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันได 150,000 บาทแรกจะไม่เสียภาษี เท่ากับ 281,000-150,000 เหลือยอด 131,000 บาท นำส่วนดังกล่าวไปคำนวณจะคิดเป็นเงินภาษีที่ต้องจ่าย 7,050 บาท
- ด้าน "โรเจอร์" มีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวเหลือ 700,000 บาท
มีสิทธิลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
คู่สมรส 60,000 บาท
ประกันสังคม 9,000 บาท
เลี้ยงดูบิดา-มารดา 60,000 บาท
เบี้ยประกันชีวิต 40,000 บาท
จะได้สิทธิลดหย่อนภาษีรวม 60,000+60,000+9,000+60,000+40,000 = 229,000 บาท นำไปลบกับรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวเท่ากับ 700,000 - 229,000 = 471,000 บาท เป็นเงินได้สุทธิ
จากนั้นนำเงินได้สุทธิ 471,000 เทียบอัตราภาษี เท่ากับ 10% แต่ตามการจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันไดจะมีวิธีการคำนวณดังนี้
150,000 บาทแรกจะไม่เสียภาษี เท่ากับ 471,000-150,000 บาท เหลือยอด 321,000 บาท
ต่อไปต้องเสียภาษีขั้นที่ 5% ซึ่งจำนวนเงินของฐานนี้เท่ากับ 7,500 บาท
เหลือเงินที่ต้องนำไปคำนวณต่อ 321,000-150,000 = 171000 บาท
นำที่เหลือ 171,000 บาทมาคำนวณที่ฐานภาษี 10% เท่ากับ 17,100 บาท
หลังจากนั้นนำเงินภาษีแต่ละขั้นมารวมกัน 7,500+17,100 บาท เท่ากับเหลือเสียภาษีรวม 24,600 บาท
นี่เป็นแนวทางในการบริหารจัดการภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือนฉบับเรียนรู้ด้วยตัวเอง เชื่อว่าคงพอจะช่วยให้เข้าใจการคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแต่ละปีและช่องทางในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
หรือถ้าอยากได้ผู้ช่วยแจ๋ว ๆ ลองแอปพลิเคชัน "Lumpsum" ของ อีไฟแนนซ์ไทย ซึ่งมีบริการครบเครื่องด้านการวางแผนการเงินและการลงทุน
ดาวน์โหลดติดตั้งแอปฯ Lumpsum ได้แล้วที่นี่
iOS
Android