ไม่มีรายการ

อย่าเก็บเงินทิ้งไว้เฉย ๆ เอาไปใส่กองทุนรวมกันเถอะ
04 กรกฎาคม 2562
เก็บเงินวันนี้ 100 บาท ถ้าเก็บเอาไว้เฉย ๆ ผ่านไป 1 ปี จะเหลือ 98 บาท
อ้าว! หายไปไหน 2 บาท
หลายคนอาจจะเถียงว่า แบงก์ร้อยเก็บวันนี้ ครบหนึ่งปีเอากลับมาดูก็เป็นแบงก์ร้อยใบเดิม ทำไมถึงบอกว่าเหลือ 98 บาทละ?
คำตอบก็ถือ “เงินเฟ้อ”
เคยสังเกตุกันรึเปล่า ว่าข้าวราดแกงวันนี้กับ 1 ปีที่แล้ว ราคาต่างกัน
1 ปี อาจจะยังไม่เห็นภาพชัดเจน ลองขัยบไป 10 ปี จะเห็นชัดเจนว่าข้าวราดแกงราคาแพงขึ้น
ตอนนี้อาจจะจานละ 40 บาท แต่เมื่อ 10 ปีก่อน จานละ 20 บาท
สิ่งนี้เป็นผลของเงินเฟ้อที่สะสมมาทุกปี
เงินเฟ้อจะทำให้ราคาสิ่งของทุกอย่างแพงขึ้น หากพูกอีกนัยนึง เงินเฟ้อทำให้กำลังซื้อลดลง
กล่าวคือ เงินเท่าเดิม แต่ซื้อของได้น้อยลง
ยกตัวอย่างเงินเก็บ 100 บาท ผ่านไป 1 ปี ที่บอกว่าเหลือ 98 บาท นั่นแหละ คือกำลังซื้อที่ลดลง
ดังนั้น เงินเก็บ อย่าเก็บไว้เฉย ๆ เพราะมันจะด้อยค่า ถูกเงินเฟ้อกัดกิน
ควรนำไปลงทุนเพิ่ม เพื่อให้งอกเงย อย่างน้อยต้องได้เท่ากับเงินเฟ้อ ว่ากันที่ตัวเลขกลม ๆ ก็ประมาณ 2% ต่อปี
หลายคนเก็บเงินในบัญชีเงินฝากออกมทรัพย์ ที่ดอกเบี้ยไม่ถึง 1% ต่อปี แล้วมันจะชนะเงินเฟ้อได้อย่างไร (ฝากออมทรัพย์ก็เป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่ความเสี่ยงต่ำเท่านั้นเอง)
เราควรจะนำเงินเก็บไปลงทุนอย่างไรได้บ้าง? ที่อย่างน้อยสามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ และความเสี่ยงไม่สูงมาก เงินต้นไม่หาย
เพราะกว่าจะเก็บเงินแต่ละบาทให้ได้ตามเป้าหมายใหญ่ อย่างที่เคยเขียนไว้ในบทความก่อน "อยากรวยต้องเก็บเงินเป็น" มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
“กองทุนรวม” เป็นหนึ่งในคำตอบที่ดีสำหรับคำถามนี้
รูปข้างต้นเป็นข้อมูล NAV ย้อนหลัง 1 ปี ของกองทุนรวมบัวหลวงธนทวี ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ (ยกมาเป็นตัวอย่าง ไม่ได้ชี้นำแต่อย่างใด)
ภายใน 1 ปี จาก 27 มิ.ย. 2561 ถึง 26 มิ.ย. 2562 ให้ผลตอบแทน 1.10% มากกว่าเงินฝากออมทรัพย์ แต่ยังน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ
สำหรับคนที่ลงทุนในกองทุนรวมอยู่แล้ว จะรู้กันดีว่านี่คือกองทุนที่เอาไว้พักเงินชั่วคราว ก่อนที่จะนำเงินไปลงทุนในกองทุนอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงกว่าเช่นกัน
โจทย์ของเราคือ ต้องการชนะเงินเฟ้อ แล้วต้องลงทุนกองทุนรวมแบบไหนดี?
คำตอบหนีไม่พ้น กองทุนรวมตราสารทุน หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่าย คือ กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในตลาดหุ้น มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นมากกว่า 50%
หากแบ่งกองทุนออกเป็น 2 ประเภทง่าย ๆ สามารถแบ่งได้เป็นกองทุนรวมแบบ Conservative Fund ที่พยายามทำผลงาน (ผลตอบแทน) ล้อไปกับตลาด
และแบบ Aggressive Fund ที่พยายามเอาชนะตลาด ให้ผลตอบแทนมากกว่าตลาด
ตลาดในที่นี้คือตลาดหุ้น ซึ่งมักจะเปรียบเทียบกับ SET50 หรือ SET100 ที่เป็นหุ้นขนาดใหญ่
เมื่อรวบรวมข้อมูลผลตอบแทนกลับพบว่า กองทุนรวมแบบ Aggressive Fund แพ้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนกองทุนรวมแบบ Conservative Fund กลับให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ที่มา : http://siamchart.com/fund-compare/EQ_THAI
จากรูปเป็นตารางกองทุนรวมตราสารทุนที่มีผลตอบแทน 1 ปี ดีที่สุด 20 อันดับแรก
ที่มา : http://siamchart.com/fund-compare/EQ_THAI
ส่วนรูปนี้ จะเห็นว่าชื่อกองทุนที่ลงท้ายด้วย 50 เช่น SCBSET50 K-SET50 T-SET50 KT-SET50-A เป็นต้น ให้ผลตอบแทน 1 ปี สูงกว่า 8%
ที่มา : http://siamchart.com/fund-compare/EQ_THAI
เมื่อเทียบกันกับทุนรวมตราสารทุนกองอื่น ๆ ที่ปัจจุบันอายุถึง 1 ปี มีอยู่ราว 270 กองทุน นับว่า Conservative Fund ชนะไปได้ถึง 4 ใน 5 ของทั้งหมด แถมอันดับท้าย ๆ ติดลบด้วยตัวเลข 2 หลักด้วยซ้ำ
ตัวอย่างนี้เป็นข้อมูลเมื่อเดือน ก.ย. 2561 และถ้าไปดูข้อมูลปัจจุบัน ณ เดือย มิ.ย. 2562 ที่ตลาดหุ้นไทยกำลังปรับตัวขึ้น Conservative Fund ยิ่งโดดเด่นมากกว่าเดิม ดังรูปข้างล่างนี้
ที่มา : http://siamchart.com/fund-compare/EQ_THAI
เห็นได้ชัดเจนว่า Conservative Fund กลับชนะ Aggressive Fund ไปถึง 4 ใน 5 !!!
ดังนั้น เมื่อมีเงินเก็บ อย่าเก็บไว้เฉย ๆ ให้เงินเฟ้อกัดกิน ควรนำไปลงทุนต่อ ซึ่งกองทุนรวมตราสารทุนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ที่สามารถสร้างผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ เพียงแต่ต้องเลือกกองทุนให้ดี ในระดับที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้
และถ้ายังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร LUMPSUM ช่วยคุณได้
--------------------------------
ดาวน์โหลดติดตั้งแอปฯ Lumpsum ได้แล้วที่นี่
iOS
Android