ไม่มีรายการ

ขอลดเงินอายัดทำอย่างไร?

ขอลดเงินอายัดทำอย่างไร?

23 ธันวาคม 2563


เบื้องต้นก่อนที่จะมาถึงขั้นตอนการอายัดเงินเดือนนั้นหมายความว่าเราได้ผ่านการ 

1. แพ้คดี(เจ้าหนี้ชนะ) เราต้องจ่ายตังค์

 

2. มีจดหมายของกรมบังคับคดี

(สมมติเราไม่มีเงินจ่ายหายไปเลย) เจ้าหนี้มีสิทธิ์ขอให้พนักงานบังคับคดีสืบทรัพย์นั่นคือจะ ยึดทรัพย์ และอายัดทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา สามารถดูรายละเอียดรายการที่จะยึดได้ที่นี่

 

3. อายัดเงินเดือน

กรณีลูกหนี้ไม่มีทรัพย์จะให้ยึด หรือเจ้าหนี้ฟ้อง ยึดทั้งทรัพย์และเงินเดือน ถึงตอนนี้เจ้าหนี้สืบทราบแล้วค่ะว่าเราทำงานที่ไหน (มักจะเสาะแสวงหาจากประกันสังคม) เมื่อศาลอนุมัติ เจ้าหนี้ก็จะยื่นเรื่องต่อกองอายัดทรัพย์สินกรมบังคับคดี

หนังสืออายัดจากกรมบังคับคดี จะส่งไปให้กรรมการผู้จัดการบริษัทที่เราทำงานอยู่ให้ได้ทราบ เพื่อให้บริษัทนำส่งเงินถ้าบริษัทไม่ส่งตามหนังสือ ถือว่าผิดด้วยในหนังสือจะระบุชัดเจนว่า จะอายัดเท่าไหร่ กี่บาท หรือกี่ % ของเงินเดือน รวมถึงเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าไหร่ อย่าเพิ่งตกใจกับตัวเลขที่ขออายัดนะคะ เพราะถ้าไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เราสามารถแย้งได้ เพราะเจ้าหนี้บางทีก็ลักไก่ ขออายัดเยอะๆไว้ก่อน

 

4. ขอลดเงินอายัด

- หากได้รับหนังสือ เงินอายัดที่กรมบังคับคดีตัดสินมาแล้ว เรายังพอที่จะไปขอลดได้ หากเรามีความจำเป็นมีภาระต่างๆมากมาย เรื่องนี้เราจะดำเนินการเอง หรือจะให้ทนายทำให้ก็ได้ แต่ยังไงเราต้องไปเองที่กรมบังคับคดี เพื่อยื่นหนังสือคำร้องขอลดเงินอายัด

- ในคำร้องก็เลยได้เลยค่ะว่าเรามีภาระอะไรบ้าง ดูแล พ่อ แม่ ภรรยา ลูก จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่เราต้องดูแล โรคประจำตัว รวมถึงเงินที่ต้องจ่าย (หนี้ ) ที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายอื่นๆ ก่อนหน้า

- เราต้องการขอลดเหลือจ่ายเดือนละเท่าไหร่ ระบุไปเลย ส่วนใหม่มักจะขอลดได้ และเท่าไหร่นั้นเต็มที่ไม่เกิน 40-50% ก็เยอะแล้ว

- อย่าอ้างลอยๆปากเปล่า ตีหน้าเศร้าเล่าไป ไม่มีประโยชน์นะคะ เอากันตรงๆคือมีหลักฐานอะไรเอาไปให้หมด เอาไปเพื่อยืนยันเพิ่มน้ำหนักให้การขอลดจะดีมากๆ เช่น

                    • หนังสือรับรองเงินเดือน

                    • สลิปเงินเดือน

                    • เอกสารค่าใช้จ่ายประจำเดือน

 

ส่วนหนี้นอกระบบไม่ต้องบรรยาย เพราะว่าไม่เป็นรูปธรรมจับต้องไม่ค่อยได้ซักเท่าไหร่

• เมื่อยื่นเรื่องแล้วก็สามารถรอฟังผลในวันเดียวกันได้เลย

• เมื่อได้ส่วนลดแล้ว (มักจะได้) อย่าเพิ่งดีใจ หนังสือจะถูกส่งไปยังเจ้าหนี้ด้วย หากเจ้าหนี้ได้เห็นว่าได้เงินน้อยเกินไป สามารถคัดค้านได้ภายใน 7 วัน ส่วนใหญ่ก็จะไม่คัดค้านเพราะเจ้าหนี้มักจะเผื่อไว้แล้วนั่นเอง

 

5. ไปขอลดเงินอายัดได้ที่ไหน

 

สถานที่ที่เราจะไปขอลดเงินอายัดได้นั่นคือ กองอายัดทรัพย์สิน กรมบังคับคดี ขึ้นอยู่กับว่า ตอนฟ้อง เจ้าหนี้ยื่นฟ้องที่ไหน เขตพื้นที่บ้านเรา หรือ บ้านเค้า

ดังนั้นดูจากดูจากเขตพื้นที่ที่ศาลสั่งพิพากษาคดีนั้นๆ มีสำนักงานกรมบังคับคดีหรือไม่

ต้องดูว่าเจ้าหนี้ยื่นเรื่องที่ไหน เจ้าหนี้สามารถยื่นเรื่องที่สำนักงานสาขาของกรมบังคับคดี หรือ ยื่นที่สำนักงานใหญ่ บางขันนนท์กรุงเทพ จึงต้องดูว่าเจ้าหนี้ยื่นที่ไหนต้องไปขอลดที่นั่นค่ะ

 

6. ถ้าเราถูกอายัดยอด 30% แล้ว เจ้าหนี้อื่นจะมาอายัดซ้ำอีกได้หรือไม่

 

• คำตอบคือไม่ได้อายัดได้ทีละเจ้า

• หากเกิดการอายัดซ้ำเราสามารถไปยื่นเรื่องต่อสำนักงานกองอายัดกรมบังคับคดี ไปส่งหนังสือแจ้งว่าเราโดนอายัดซ้ำ

ดังนั้น เจ้าหนี้ใหม่จะต้องรอคิวและเช็คคิวต่อไปว่าเจ้าแรกหมดเมื่อไหร่ แต่หากเรามีเจ้าหนี้ที่รออายัดเงินเราให้เต็ม 30% อยู่การไปขอลด ก็เสียเวลาเปล่านะคะเพราะ เราหากเราขอลดได้เหลือจ่าย 15% เจ้าหนี้ใหม่ที่เห็นว่าไม่เต็ม 30% ก็จะใช้สิท 15% ให้เต็มอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเรามีรายเดียวก็คุ้มกว่าแน่ๆค่ะ

 

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่กำลังหาทางออกของทางปลอดหนี้ อย่างรู้เท่าทัน หากท่านโดนฟ้องศาลหรือมีหมายศาลมา สามารถดูเทคนิคได้ที่นี่ 

 

ขอขอบคุณหนังสือ ปลดหนี้ .... ทำไง ของคุณ ศุภศักดิ์ เงาประเสริฐ ที่ได้เขียนหนังสือที่ชัดเจน เข้าใจง่ายพร้อมให้เทคนิคดีดี นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในหนังสือที่หยิบยกกันมาเล่าสู่กันฟัง ในครั้งหน้า ผู้เขียนจะเอาประเด็นอะไรมาฝาก อย่าลืมติดตามกันด้วยนะคะ

 

หากสภาพคล่องของท่านกำลังตึง เงินเริ่มขาดมือ สามารถสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลได้ที่ Lumpsum คลิกเลย!

บทความแนะนำล่าสุด


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ